วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การดูแลรักษาข้อมูล


"ฮาร์ดดิสก์" คืออุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ เพราะถูกสร้างขึ้นสำหรับใช้เก็บข้อมูลของระบบปฏิบัติการรวมถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลของผู้ใช้งาน  หากเจ้าของเครื่องหรือผู้ใช้ ไม่ทราบวิธีการดูแลคอมพิวเตอร์เบื้องต้นเลย ก็เปรียบดังการใช้รถทุกวันโดยไม่เคยเข้าศูนย์บริการและบำรุงรักษาตามระยะทาง  คอมพิวเตอร์ก็เหมือนดังรถยนต์ที่ต้องการการบำรุงรักษาตามความเหมาะสมเช่นกัน แต่ปัญหาคอมพิวเตอร์เสียและฮาร์ดดิสก์พังจนไม่สามารถอ่านข้อมูลสำคัญข้างในได้นั้น จะสร้างความโกลาหลและความเจ็บปวดได้มากกว่ารถเสียหลายเท่า เมื่อถึงเวลาที่จะต้องนำเสนอโครงการหรือข้อมูลธุรกิจที่สำคัญ ให้กับเจ้านาย หรือลูกค้า!
ต่อไปนี้คือวิธีการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และฮาร์ดดิสก์ได้รับการดูแลย่างเหมาะสม มีความปลอดภัยต่อข้อมูลมากขึ้น สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเองดังนี้

สแกนหาไวรัส
ควรหาโปรแกรมป้องกัน Virus ติดตั้งไว้ในเครื่อง ถึงแม้ว่าจะเป็น Freeware ก็ยังดีกว่าไม่มี โดยจะต้องตรวจสอบวันที่ล่าสุดของฐานข้อมูลไวรัส (Virus Definition) อีกด้วย เพราะถ้าเก่าเกินกว่า 15-30 วัน ก็ควรรีบทำการอัพเดตให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด เพื่อการป้องกันที่เต็มประสิทธิภาพ จากนั้นทำการสแกนฮาร์ดดิสก์ และทยอยสแกนอุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่นๆ ทั้งหมดที่ใช้งานอยู่ด้วยเช่นกัน

ลบไฟล์ขยะ หรือไฟล์ที่ไม่ได้ใช้
เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกใช้งานมานานเท่าใด ไฟล์ข้อมูลเก่าๆ ก็จะถูกเก็บเพิ่มพูนมากขึ้นเท่านั้นโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูลเก่า โปรแกรมเก่า ไฟล์ชั่วคราว หรือไฟล์ที่ถูก Download ลงมาจากการท่องอินเทอร์เน็ต รวมทั้งไฟล์ที่ตกค้างจากการติดตั้งโปรแกรมในโฟลเดอร์เก็บไฟล์ชั่วคราวของวินโดว์สอีกด้วย ไฟล์เหล่านี้สร้างภาระให้กับฮาร์ดดิสก์และคอมพิวเตอร์ทำงานหนักโดยไม่จำเป็น ซึ่งวิธีการง่ายๆ ในการกำจัดไฟล์เหล่านี้ ก็คือการสละเวลา นั่งพิจารณาและลบไฟล์เหล่านั้นด้วยตนเอง หรือการใช้ยูทิลิตี้ Disk Cleanup ของวินโดว์สก็สามารถทำได้สะดวกเช่นกัน

เทขยะอย่าให้เหลือไฟล์ตกค้าง
กรณีที่คุณ Delete ไฟล์ข้อมูลนั้นๆ ไฟล์ของคุณจะยังไม่ถูกลบออกไปจากฮาร์ดดิสก์จริง แต่วินโดว์สจะระบุว่าไฟล์ที่คุณลบนั้น กลายเป็นไฟล์ที่อยู่ในถังขยะ (Recycle Bin) เผื่อกรณีที่คุณเกิดเปลี่ยนใจหรือตัดสินใจผิด ก็สามารถเรียกคืนไฟล์เหล่านั้นคืนมาจาก Recycle Bin ได้ ซึ่งการลบแบบ Delete นั้นไม่ได้เป็นการเพิ่มพื้นที่ว่างในฮาร์ดดิสก์แต่อย่างใด  ดังนั้นหากคุณมั่นใจว่าไม่ใช้งานไฟล์เหล่านั้นแล้ว คุณสามารถลบไฟล์แบบถาวรเพื่อเพิ่มพื้นที่ว่างของฮาร์ดดิสก์ให้มากขึ้นได้อีกด้วยโดย การคลิกขวาที่ไอคอน Recycle Bin แล้วเลือกคำสั่ง Empty Recycle Bin เพื่อกำจัดไฟล์ขยะดังกล่าว

กำจัดขยะในซอกหลืบ
แม้ว่าคุณจะทำการลบไฟล์ขยะด้วยตัวเองไปแล้ว แต่ก็ยังอาจมีเศษไฟล์ขยะจาก สปายแวร์หรือแอดแวร์ต่างๆ ที่มองไม่เห็นตกค้างอยู่ในฮาร์ดดิสก์ของคุณอีกมากมาย ซึ่งต้องใช้โปรแกรมพิเศษอย่างเช่น Ad-aware หรือ Spybot Search & Destroy ที่หาดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต มาช่วยกำจัดไฟล์เหล่านี้ ที่สำคัญคืออย่าลืมอัพเดตฐานข้อมูลให้กับโปรแกรมดังกล่าวก่อนเริ่มทำการสแกนระบบด้วย เช่นกัน

ทำการสแกนดิสก์
คุณคงเคยได้ยินคำว่า Bad Sector มาบ้างแล้ว มันคือปัญหาที่เกิดจากพื้นที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ที่เล็กระดับ Sector เกิดบกพร่องเสียหาย และถูกใช้คำแทนจุดบกพร่องนั้นๆ ว่า "Bad Sector" ซึ่งมีความหมายว่า บริเวณพื้นผิวของจานแม่เหล็กเกิดความเสียหายจนไม่สามารถอ่านข้อมูลได้ ซึ่งวิธีการแก้ไขเบื้องต้นนั้น คือการใช้ยูทิลิตี้ Scandisk ของวินโดว์ส ในการตรวจสอบหาจุดที่เกิด Bad Sector และย้ายข้อมูลที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ไปยัง Sector อื่นๆ เพื่อความปลอดภัยของไฟล์ข้อมูล โดยในหน้าต่างยูทิลิตี้ Scandisk นั้นให้คุณเลือกอ็อพชั่น Scan for and attempt recovery of bad sectors และควรปิดการทำงานของสกรีนเซฟเวอร์ก่อนเริ่มทำการ Scandisk อีกด้วย

เลือกแหล่งจ่ายไฟที่มีคุณภาพ
ปลั๊กไฟและสายไฟที่ไม่มีคุณภาพ รวมถึง Power Supply ที่ไม่ได้คุณภาพในเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจทำให้เกิดไฟดับ ไฟกระชาก ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์และคอมพิวเตอร์กำลังทำงาน ซึ่งเป็นเหตุให้ฮาร์ดดิสก์เสีย ข้อมูลหายได้!  ดังนั้นการเลือกใช้ปลั๊กไฟที่มีคุณภาพ มีความแน่นหนาและจัดเก็บเป็นระเบียบ จะช่วยลดความเสี่ยงข้อมูลหายจากปัญหาฮาร์ดดิสก์เสียเพราะระบบไฟฟ้าได้มาก  การจัดหาเครื่องสำรองไฟ UPS มาต่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์ เป็นหนทางป้องกันปัญหาที่เหมาะสมที่สุดอีกทางหนึ่ง

ไม่เคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ขณะทำงาน
สาเหตุหลักที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์เสียจนข้อมูลหายอีกประการหนึ่งคือ หัวอ่าน ( Read Write Head ) ครูดไปกับจานบันทึกข้อมูล อันเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ขณะที่เครื่องกำลังทำงาน โดยเฉพาะโน๊ตบุ๊ค ที่สามารถจะเคลื่อนย้ายได้บ่อย... เพราะว่าหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์นั้น ( Read Write Head ) จะลอยชิดอยู่เหนือจานบันทึกข้อมูลเพียงแค่ 1ใน 200 ส่วนของความหนาของเส้นผมมนุษย์เท่านั้น ดังนั้น การเคลื่อนย้ายเครื่อง หรือเครื่องถูกกระแทกในขณะที่ฮาร์ดดิสก์หมุนทำงานอยู่นั้น อาจจะทำให้หัวอ่าน ตะวัด ลงไปข่วนบนจานบันทึกข้อมูลได้ และสะสม Bad Sector ไว้ทีละน้อย โดยที่เราไม่รู้ตัว จนกระทั่ง ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ และเป็นเหตุให้ข้อมูลหาย


สำรองข้อมูล
ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีในการผลิตฮาร์ดดิสก์จะมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และก้าวหน้ากว่าเมื่ก่อนมาก แต่ก็ไม่มีฮาร์ดดิสก์ยี่ห้อใด ที่มีความคงทนถาวร โดยมันจะมีอายุงานและการเสื่อมสภาพเหมือนกับอุปกรณ์อื่นๆ ทั่วไป และโดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุสูงมากๆ ระดับหลายร้อย Gigabyte ไปจนถึง Terabyte ที่มีใช้แพร่หลายในปัจจุบันนั้น มีโอกาศเสี่ยงที่จะเกิด Bad Sector มากกว่าฮาร์ดดิสในสมัยก่อนมาก เนื่องจากการออกแบบส่วนประกอบภายในให้เล็กลง แต่มีความจุสูงมากขึ้น ในขณะที่ขนาดภายนอกยังดูเท่าเดิม นั่นเอง  สิ่งที่คุณควรทำให้เป็นกิจวัตรก็คือการสำรองข้อมูลสำคัญต่างๆ ไว้ที่อื่น เช่นเก็บไว้ในแผ่นซีดี ดีวีดี หรือ ฮาร์ดดิสก์ลูกอื่นที่ไม่ใช่ฮาร์ดดิสก์ตัวที่ใช้งานหลัก รวมถึงการสำรองข้อมูลไว้ใน Thumb Drive ที่มีความจุสูง หรือแม้กระทั่ง วิธีการแนบไฟล์งานส่งไปเก็บไว้ใน Email ส่วนตัวหลายๆ ที่ ก็เป็นหนทางที่ดีเช่นกัน   สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เกิดความอุ่นใจและลดความสูญเสียได้ในระดับหนึ่ง เมื่อเกิดเหตุการณ์คับขัน กรณีฮาร์ดดิสก์เสีย ข้อมูลหายขึ้นมา

ข้อมูล


ข้อมูล หรือ ข้อมูลดิบ หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ก็ได้. ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำ และเป็นปัจจุบัน เช่น ปริมาณ ระยะทาง ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ คะแนนของนักเรียน รายงาน บันทึก ฯลฯ
ระบบ การจัดการความรู้ ทั้งหมดได้แก่
ข้อมูลเหล่าที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว เราจะเรียกว่า สารสนเทศ (information)
ข้อมูล -> (กระบวนการประมวลผล) -> สารสนเทศ

[แก้]ข้อแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูลแตกต่างจากสารสนเทศคือ ข้อมูลเป็น ส่วนของข้อเท็จจริง โดยได้จากการเก็บมาจากเหตุการณ์ต่างๆ สารสนเทศคือข้อมูลที่นำมาผ่านกระบวนการเพื่อสามารถนำไปใช้ ในการตัดสินใจต่อไปได้ทันทีหรือการนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อการนำไปใช้งาน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตัวอย่างข้อแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
  • ข้อมูล: นิสิตในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งมีจำนวน 36,000 คน อาจารย์มีจำนวน 350 คน
  • สารสนเทศ: อัตรานิสิตต่ออาจารย์ของมหาวิทยาลัยแห่งเดียวกัน = 36,000/350 = 102.86
จากตัวอย่าง ถ้ามีคำถาม
  • ถามขึ้นมาว่าให้หาจำนวนของนิสิตต่ออาจารย์หนึ่งคนในมหาวิทยาลัยแห่งนั้น โดยสามารถนำค่า 102.86 ไปใช้ได้ทันที โดยตอบว่า ประมาณ 100 คน
  • ถามว่า เปรียบเทียบมหาวิทยาลัยสองที่ ว่าที่ไหนอาจารย์สามารถดูแลนิสิตได้ทั่วถึงมากกว่ากัน โดยเราหาค่า อัตราส่วนของนิสิตต่ออาจารย์ ของสองมหาวิทยาลัยมาเปรียบเทียบ จะทราบว่ามหาวิทยาลัยที่มีค่าน้อยกว่า อาจบอกเป็นนัยได้ว่ามหาวิทยาลัยนั้น อาจารย์ดูแลนิสิตได้ทั่วถึงกว่า

[แก้]อ้างอิง

การประมวลผลข้อมูล

ข้อมูลและการประมวลผลข้อมูล

ข้อมูล คือข้อเท็จจริงที่เราสนใจ ส่วน สารสนเทศ คือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการที่เหมาะสมถูกต้อง จนได้รูปแบบผลลัพธ์ ตรงความต้องการของผู้ใช้ 

ข้อมูลที่จะนำมาประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ จะต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานดังต่อไปนี้
  1. ความถูกต้อง หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้ จะทำให้เกิดผลเสียหายมาก ผู้ใช้จะไม่กล้าอ้างอิงหรือนำเอาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ และมีโอกาสผิดพลาดได้ โครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด โดยปกติความผิดพลาดของการประมวลผลส่วนใหญ่ มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร การออกแบบระบบจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้
  2. ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้เร็ว ตีความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ มีการออกแบบระบบการเรียกค้นและรายงาน ตามความต้องการของผู้ใช้
  3. ความสมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมและวิธีการทางปฏิบัติ ในการดำเนินการจัดทำสารสนเทศ ต้องสำรวจและสอบถามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์เหมาะสม
  4. ความชัดเจนกระทัดรัด การจัดเก็บข้อมูลต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมาก จึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กระทัดรัด สื่อความหมายได้ มีการใช้รหัสหรือย่อข้อมูลให้เหมาะสม เพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
  5. ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์การ ดูสภาพการใช้ข้อมูล ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตข้อมูล ที่สอดคล้องกับความต้องการ
ในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ หรือการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลก่อน การประมวลผลข้อมูล เป็นกระบวนการที่มีกระบวนการย่อยหลายอย่าง ประกอบกันคือ
  1. การรวบรวมข้อมูล
  2. การแยกแยะ
  3. การตรวจสอบความถูกต้อง
  4. การคำนวณ
  5. การจัดลำดับหรือการเรียงลำดับ
  6. การรายงานผล
  7. การสื่อสารข้อมูลหรือการแจกจ่ายข้อมูลนั้น
การประมวลผลข้อมูล จึงเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ เพราะข้อมูลที่มีอยู่ รอบๆ ตัวเรามีเป็นจำนวนมากในการใช้งานจึงต้องมีการประมวลผล เพื่อให้เกิดประโยชน์ กิจกรรมหลักของการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จึงประกอบด้วยกิจกรรมการ เก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งต้องมีการตรวจสอบ ความถูกต้องด้วย กิจกรรมการประมวลผลซึ่งอาจจะเป็นการแบ่งแยกข้อมูล การจัดเรียงข้อมูล การคำนวณ และกิจกรรมการเก็บรักษาข้อมูลซึ่งอาจต้อง มีการทำสำเนา ทำรายงาน เพื่อแจกจ่าย

วิธีการประมวลผล มี 2 ลักษณะ คือ

(1) การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing)
หมายถึง การทำงานในขณะที่ข้อมูลวิ่งไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผลการประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลโดยทันทีทันใด เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงินเอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นวิธีที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง

(2) การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing)
หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ เช่น เมื่อต้องการทราบข้อมูลผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำข้อมูล นั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ เพื่อรายงานหรือสรุปผลหาคำตอบ กรณีการประมวลผลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะเป็นครั้งๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน 
http://www.yupparaj.ac.th/CAI/processing.htm

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ และหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
          คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"
          คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้ ซึ่งเราจะมาทำความรู้กับ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ กันครับ

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ และหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
          1.ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
          2.ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
          3.ส่วนแสดงผล (Output Unit)
          4.หน่วยความจำ (Memory Unit)

1.ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
          ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก ปัจจุบันอุปกรณ์มากมายแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
          - Keyboard (คีย์บอร์ด)
          Keyboard เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นปุ่มตัวอักษรเหมือนปุ่มเครื่องพิมพ์ดีด เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยน เป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษร ตัวพิมพ์ใหญ่ และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์
1.Keyboard

          - Mouse (เมาส์)
          Mouse เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลอย่างหนึ่งแต่ที่เห็นการทำงาน โดยทั่วไปจะเป็นตัวที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ เหมาะสำหรับใช้งานเมื่อต้องเลือก หรือเลื่อนวัตถุต่างๆ บนจอ Mouse ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้ 2 แบบ ได้แก่ 9 Pin, Serial Port และ PS/2 (Personal System Version2)
2.Mouse

          - Scanner (สแกนเนอร์)
          สแกนเนอร์ คือ อุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพ จากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ
3.Scanner

          - Webcam (เว็บแคม)
          เว็บแคมหรือชื่อเรียกเต็มๆว่า Web Camera (เว็บแคเมรา) แต่ในบางครั้งก็มีคนเรียกว่า Video Camera หรือ Video Conference เว็บแคมเป็นอุปกรณ์อินพุตที่ สามารถจับภาพเคลื่อนไหวของเราไปปรากฏในหน้าจอมอนิเตอร์ และสามารถส่งภาพเคลื่อนไหวนี้ผ่านระบบเครือข่ายเพื่อให้คนอีกฟากหนึ่งสามารถเห็นตัวเราเคลื่อนไหว ได้เหมือนอยู่ต่อหน้า ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์อีกตัวหนึ่ง และมีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
4.Webcam

          - Microphone (ไมโครโฟน)
          ไมโครโฟน คือ อุปกรณ์รับเสียงแล้วทำการแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อประมวลผลในเครื่องขยายเสียงหรืออุปกรณ์ผสมเสียงอื่นๆ ไมโครโฟนจะประกอบด้วยขดลวดและแม่เหล็กเป็นหลัก เมื่อเสียงกระทบตัวรับในไมโครโฟนจะทำให้ขดลวดสั่นสะเทือนตัดกับสนามแม่เหล็ก จึงทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งเป็นหลักการทำงานตรงข้ามกับลำโพง โดยทั่วไปไมโครโฟนใช้รับเสียงพูดหรือเสียงร้องเพลง
5.Microphone

          - Touch screen (ทัชสกรีน)
          ทัชสกรีน คือ จอภาพแบบสัมผัส ซึ่งเป็นจอภาพแบบพิเศษที่เป็นทั้งอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล และอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล มักนำไปใช้กับธุรกิจร้านค้า โรงแรม สายการบิน พิพิธภัณฑ์ สถานบันเทิงคาราโอเกะ รวมถึงธุรกิจธนาคาร เช่น เครื่องเอทีเอ็ม ซึ่งผู้ใช้งานเพียงแต่นำนิ้วหรือใช้แท่งคล้ายดินสอหรือปากกา แตะ/กดลงบนตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพ
6.Touch-Screen

2.ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
          ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่จะขาดไม่ได้เลยคือหน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน ส่วนประกอบของหน่วยประมวลผลกลางนั้นประกอบไปด้วย
          1. หน่วยคำนวณ และตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
          2. หน่วยควบคุม (Control Unit)
          3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
7.CPU

3.ส่วนแสดงผล (Output Unit)
          หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ โดยมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
          3.1) หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) หมายถึง การแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง ได้แก่
          - จอภาพ (Monitor)
8.Monitor

          - อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector)
9.Projector

          - อุปกรณ์เสียง (Audio Output)
10.Speaker

          3.2) หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) หมายถึง การแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้เช่น
          - เครื่องพิมพ์ (Printer)
11.Printer

          - เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter)
12.Plotter

4.หน่วยความจำ (Memory Unit)
          หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งออกหน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล และเตรียมส่งออกหน่วยแสดงผลข้อมูลต่อไป ซึ่งหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
          4.1) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
          เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
                   4.1.1) หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile)
           โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น
13.Rom-Bios

                   4.1.2) หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว
           ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น
14.Ram

          4.2) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit)
          สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
                   4.2.1) แบบจานแม่เหล็ก เป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่เป็นลักษณะของจานแม่เหล็กสำหรับบันทึกข้อมูลไว้ภายใน Disk ได้รับความนิยมและใช้งานมานานพอสมควรซึ่งเป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้หลักๆ เลยในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์
15.Harddisk

                   4.2.2) แบบแสง เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยใช้หลักการทำงานของแสง การจัดการข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็ก ต่างกันที่การแบ่งจะเป็นรูปก้นหอย และเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลจากส่วนด้านในออกมาด้านนอก ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี เช่น CD , DVD
16.CD-DVD

                   4.2.3) แบบเทป เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับต่อเนื่องกันไป มีการผลิตขึ้นมาหลากหลายขนาดแตกต่างกันไป เช่น DAT และ QIC เป็นต้นปัจจุบันไม่ค่อยถือเป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
17.DAT-QIC

                   4.2.4) แบบอื่นๆ เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่พบได้ทั่วไปในปัจจุบัน มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น Flash Drive, Thumb Drive , Handy Drive เป็นต้น อีกชนิดคือ Memory Card เพื่อใช้เก็บข้อมูลในกล้องดิจิตอลแบบพกพา
18.Flash-Drive

คอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์ (อังกฤษcomputer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์[2][3] เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย
คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่างๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่างๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน[4]
คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit)โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินขับไล่ และของเล่นชนิดต่างๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

เนื้อหา

  [ซ่อน

ประวัติของการคำนวณโดยใช้คอมพิวเตอร์

มีการบันทึกไว้ว่า ครั้งแรกที่มีการใช้คำว่า "คอมพิวเตอร์" คือเมื่อ ค.ศ. 1613 ซึ่งหมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่คาดการณ์ หรือคิดคำนวณ และมีความหมายเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 และตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มา ความหมายของคำว่าคอมพิวเตอร์นี้เริ่มมีใช้กับเครื่องจักรที่ทำหน้าที่คิดคำนวณมากขึ้น[5]

คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีฟังก์ชันจำกัด

ประวัติของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่นั้นเริ่มต้นจากเทคโนโลยีสองชนิดที่แตกต่างกัน ได้แก่ การคำนวณโดยอัตโนมัติ กับการคำนวณที่สามารถโปรแกรมได้ (หมายถึงสร้างวิธีการทำงานและปรับแต่งได้) แต่ระบุแน่ชัดไม่ได้ว่าเทคโนโลยีชนิดใดเกิดขึ้นก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการคำนวณแต่ละชนิดนั้นไม่มีความสอดคล้องกัน อุปกรณ์บางชนิดก็มีความสำคัญที่จะเอ่ยถึง อย่างเช่นเครื่องมือเชิงกลเพื่อการคำนวณบางชนิดที่ประสบความสำเร็จและยังใช้กันอยู่หลายศตวรรษก่อนที่จะมีเครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์ อาทิลูกคิดของชาวสุเมเรียนที่ถูกออกแบบขึ้นราว 2,500 ปีก่อนคริสตกาล[6] ชนะการแข่งขันความเร็วในการคำนวณต่อเครื่องคำนวณตั้งโต๊ะเมื่อ ค.ศ. 1946 ที่ประเทศญี่ปุ่น[7] ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1620 มีการประดิษฐ์สไลด์รูล ซึ่งถูกนำขึ้นยานอวกาศในภารกิจของโครงการอะพอลโลถึง 5 ครั้ง รวมถึงเมื่อครั้งที่สำรวจดวงจันทร์ด้วย[8] นอกจากนี้ยังมี เครื่องทำนายตำแหน่งดาวฤกษ์ (Astrolabe) และ กลไกอันติคือเธรา ซึ่งเป็นเครื่องคำนวณ (คอมพิวเตอร์) เกี่ยวกับดาราศาสตร์ยุคโบราณที่ชาวกรีกเป็นผู้สร้างขึ้นราว 80 ปีก่อนคริสตกาล[9] ที่มาของระบบการสั่งการโปรแกรมเกิดขึ้นเมื่อ ฮีโรแห่งอเล็กซานเดรีย (c.10-70 AD) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกสร้างโรงละครที่ประกอบด้วยเครื่องจักร ใช้แสดงละครความยาว 10 นาที และทำงานโดยมีกลไกเชือกและอิฐบล็อกทรงกระบอกที่ซับซ้อน ซึ่งสามารถตัดสินใจเลือกได้ว่าจะชิ้นส่วนกลไกใดใช้ในการแสดงฉากใดและเมื่อใด[10]
ราวๆ ปลายศตวรรษที่ 10 สมเด็จพระสันตะปาปาซิลเวสเตอร์ที่ 2 นักบวชชาวฝรั่งเศส ได้นำลิ้นชักบรรจุอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่จะตอบคำถามได้ว่าใช่ หรือ ไม่ใช่ เมื่อถูกถามคำถาม (ด้วยเลขฐานสอง)[11] ซึ่งชาวมัวร์ประดิษฐ์ไว้กลับมาจากประเทศสเปน ในศตวรรษที่ 13 นักบุญอัลแบร์ตุส มาญุส และโรเจอร์ เบคอน นักปราชญ์ชาวอังกฤษ ได้สร้างหุ่นยนต์แอนดรอยด์ (android) พูดได้ โดยไม่ได้พัฒนาใดๆ ต่ออีก (นักบุญอัลแบร์ตุส มาญุส บ่นออกมาว่าเขาเสียเวลาเปล่าไป 40 ปีในชีวิต เมื่อนักบุญโทมัส อควีนาสตกใจกับเครื่องนี้และได้ทำลายมันเสีย) [12]
ในปี ค.ศ. 1642 แห่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา มีการประดิษฐ์เครื่องคำนวณของปาสคาลซึ่งเป็นเครื่องคำนวณตัวเลขเชิงกล[13] เป็นอุปกรณ์ที่จะสามารถคำนวณโดยใช้ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์โดยไม่ต้องพึ่งสติปัญญามนุษย์[14] เครื่องคำนวณเชิงกลนี้ยังถือเป็นรากฐานของการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในสองทาง แรกเริ่มนั้น ความพยายามที่จะพัฒนาเครื่องคำนวณที่มีสมรรถภาพสูงและยืดหยุ่น[15] ซึ่งทฤษฎีนี้ถูกสร้างโดยชาร์ลส แบบเบจ[16][17] และได้รับการพัฒนาในเวลาต่อมา[18] นำไปสู่การพัฒนาเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่) ขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 และในขณะเดียวกัน อินเทล ก็สามารถประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเป็นหัวใจสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์หากไม่คำนึงถึงขนาดและวัตถุประสงค์[19] ขึ้นได้โดยบังเอิญ[20] ระหว่างการพัฒนาเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ บิซิคอม ที่พัฒนาสืบต่อจากเครื่องคำนวณเชิงกลโดยตรง

ประเภทของคอมพิวเตอร์

ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก (very large scale integrated circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัว เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก

มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)

มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น

ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC)

ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น เช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า

โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop)

โน้ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอๆกับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ

เน็ตบุ๊ค (netbook or laptop)

เน็ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์และเล็กกว่าโน้ตบุ๊ค ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา

แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (tablet computer)

แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แท็บเล็ต คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม [21]

ตัวอย่างประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์มีประโยชน์กับเรามากมาย เช่น
  1. การใช้งานภาครัฐ งานทะเบียนราษฎร์ของรัฐบาล เช่น การแจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ การทำบัตรประจำตัวประชาชน งานภาษี เช่น ยื่นแบบประเมินภาษีภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต เก็บทะเบียนประวัติผู้เสียภาษี ตรวจสอบการเสียภาษี
  2. งานสายการบิน การสำรองที่นั่งผู้โดยสาร การลดงานเอกสาร
  3. ทางด้านการศึกษา สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนออนไลน์ให้กับผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
  4. ธุรกิจการนำเข้าสินค้าและส่งออก การทำธุรกิจแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  5. ธุรกิจธนาคาร ช่วยด้านงานข้อมูลธนาคาร รับ-จ่ายเงิน เก็บประวัติลูกค้า ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ
  6. วิทยาศาสตร์และการแพทย์ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาของคนไข้ วิจัย คำนวณ และ การจำลองแบบ
  7. งานสถาปนิก ช่วยออกแบบ เขียนแบบ หรือทำแบบจำลองสามมิติ
  8. งานภาพยนตร์ การ์ตูน แอนิเมชัน ช่วยสร้างตัวการ์ตูนเคลื่อนไหว ออกแบบตัวการ์ตูน จำลองตัวการ์ตูนสามมิติ การตัดต่อภาพยนตร์
  9. งานด้านสถิติ ช่วยเก็บบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ จำลองแบบข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูล
  10. ด้านนันทนาการ ช่วยให้ความบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง ร้องคาราโอเกะ เล่นเกม