วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

ประวัติพระพุทธเจ้า


ประวัติพระพุทธเจ้า


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก learntripitaka.com

          "ศาสนาพุทธ" เป็นศาสนาประจำชาติไทยของเรา แล้วมีสักกี่คนเอ่ย...ที่ทราบถึงประวัติของ "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ผู้ทรงเป็น "พระศาสดา" ของ "พระพุทธศาสนา" วันนี้กระปุกจึงนำเรื่องราวพุทธประวัติ หรือ ประวัติพระพุทธเจ้า มาฝากกันค่ะ
          พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า "สิทธัตถะ" หมายถึง ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว หรือผู้ปรารถนาสิ่งใด ย่อมได้สิ่งนั้น ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ และ "พระนางสิริมหามายา" พระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ

          ในคืนที่พระพุทธเจ้าเสด็จปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายา พระนางทรงพระสุบินนิมิตว่า มีช้างเผือกมีงาสามคู่ได้เข้ามาสู่พระครรภ์ ณ ที่บรรทม ก่อนที่พระนางจะมีพระประสูติกาล ที่ใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน เมื่อวันศุกร์ ขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนวิสาขะ ปีจอ 80 ปีก่อนพุทธศักราช (ปัจจุบันสวนลุมพินีวันอยู่ในประเทศเนปาล)
          ทันทีที่ประสูติ เจ้าชายสิทธัตถะทรงดำเนินด้วยพระบาท 7 ก้าว และมีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับพระบาท พร้อมเปล่งพระวาจาว่า "เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา" แต่หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติกาลได้แล้ว 7 วัน พระนางสิริมหามายาก็เสด็จสวรรคาลัย เจ้าชายสิทธัตถะจึงอยู่ในความดูแลของพระนางประชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา

          ทั้งนี้ พราหมณ์ ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ หากดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกบวช และจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

 ประวัติพระพุทธเจ้า : ชีวิตในวัยเด็ก

          เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาเล่าเรียนจนจบศิลปศาสตร์ทั้ง 18 ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร และเนื่องจากพระบิดาไม่ประสงค์ให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดาเอกของโลก จึงพยายามทำให้เจ้าชายสิทธัตถะพบเห็นแต่ความสุข โดยการสร้างปราสาท 3 ฤดู ให้อยู่ประทับ และจัดเตรียมความพร้อมสำหรับการราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้นครองราชย์

          เมื่อมีพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา หรือยโสธรา พระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา จนเมื่อมีพระชนมายุ 29 พรรษา พระนางพิมพาได้ให้ประสูติพระราชโอรส มีพระนามว่า "ราหุล" ซึ่งหมายถึง "บ่วง"


 ประวัติพระพุทธเจ้า : เสด็จออกผนวช

ประวัติพระพุทธเจ้า


          วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะทรงเบื่อความจำเจในปราสาท 3 ฤดู จึงชวนสารถีทรงรถม้าประพาสอุทยาน ครั้งนั้นได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช โดยเทวทูต (ทูตสวรรค์) ที่แปลงกายมา พระองค์จึงทรงคิดได้ว่า นี่เป็นธรรมดาของโลก ชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ จึงทรงเห็นว่าความสุขทางโลกเป็นเพียงภาพมายาเท่านั้น และวิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ คือต้องครองเรือนเป็นสมณะ ดังนั้นพระองค์จึงใคร่จะเสด็จออกบรรพชา ในขณะที่มีพระชนม์ 29 พรรษา
          ครานั้นพระองค์ได้เสด็จไปพร้อมกับนายฉันทะ สารถี ซึ่งเตรียมม้าพระที่นั่ง นามว่ากัณฑกะ มุ่งตรงไปยังแม่น้ำอโนมานที ก่อนจะประทับนั่งบนกองทราย ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ และเปลี่ยนชุดผ้ากาสาวพัตร์ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้) และให้นายฉันทะ นำเครื่องทรงกลับพระนคร ก่อนที่พระองค์จะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่) ไปโดยเพียงลำพัง เพื่อมุ่งพระพักตร์ไปยังแคว้นมคธ


 ประวัติพระพุทธเจ้า : บำเพ็ญทุกรกิริยา

          หลังจากทรงผนวชแล้ว พระองค์มุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธ ได้พยายามเสาะแสวงทางพ้นทุกข์ ด้วยการศึกษาค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร แต่เมื่อเรียนจบทั้ง 2 สำนักแล้ว ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์

          จากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม และทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ด้วยการขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร จนร่างกายซูบผอม แต่หลังจากทดลองได้ 6 ปี ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา และหันมาฉันอาหารตามเดิม ด้วยพระราชดำริตามที่ท้าวสักกเทวราชได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย 3 วาระ คือดีดพิณสายที่ 1 ขึงไว้ตึงเกินไปเมื่อดีดก็จะขาด ดีดพิณวาระที่ 2 ซึ่งขึงไว้หย่อน เสียงจะยืดยาดขาดความไพเราะ และวาระที่ 3 ดีดพิณสายสุดท้ายที่ขึงไว้พอดี จึงมีเสียงกังวานไพเราะ ดังนั้นจึงทรงพิจารณาเห็นว่า ทางสายกลางคือไม่ตึงเกินไป และไม่หย่อนเกินไป นั่นคือทางที่จะนำสู่การพ้นทุกข์
          หลังจากพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ทำให้พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ ที่มาคอยรับใช้พระองค์ด้วยความคาดหวังว่าเมื่อพระองค์ค้นพบทางพ้นทุกข์ จะได้สอนพวกตนให้บรรลุด้วย เกิดเสื่อมศรัทธาที่พระองค์ล้มเลิกความตั้งใจ จึงเดินทางกลับไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี


 ประวัติพระพุทธเจ้า : ตรัสรู้

ประวัติพระพุทธเจ้า

          ครานั้นพระองค์ทรงประทับนั่งขัดสมาธิ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และตั้งจิตอธิษฐานด้วยความแน่วแน่ว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ แม้จะมีหมู่มารเข้ามาขัดขวาง แต่ก็พ่ายแพ้พระบารมีของพระองค์กลับไป จนเวลาผ่านไปในที่สุดพระองค์ทรงบรรลุรูปฌาณ คือ ครานั้นพระองค์ทรงประทับนั่งขัดสมาธิ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และตั้งจิตอธิษฐานด้วยความแน่วแน่ว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ แม้จะมีหมู่มารเข้ามาขัดขวาง แต่ก็พ่ายแพ้พระบารมีของพระองค์กลับไป จนเวลาผ่านไปในที่สุดพระองค์ทรงบรรลุรูปฌาณ คือ

          ยามต้น หรือปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ สามารถระลึกชาติได้

          ยามสอง ทางบรรลุจุตูปปาตญาณ (ทิพยจักษุญาณ) คือ รู้เรื่องการเกิดการตายของสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรมที่กำหนดไว้

          ยามสาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ หรือกิเลส ด้วยอริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค และได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นศาสดาเอกของโลก ซึ่งวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ขณะที่มีพระชนม์ 35 พรรษา


 ประวัติพระพุทธเจ้า : แสดงปฐมเทศนา          หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาธรรมที่พระองค์ตรัสรู้มาเป็นเวลา 7 สัปดาห์ และทรงเห็นว่าพระธรรมนั้นยากต่อบุคคลทั่วไปที่จะเข้าใจและปฏิบัติได้ พระองค์จึงทรงพิจารณาว่า บุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวกอย่าง บัว 4 เหล่า ที่มีทั้งผู้ที่สอนได้ง่าย และผู้ที่สอนได้ยาก พระองค์จึงทรงระลึกถึงอาฬารดาบสและอุทกดาบส ผู้เป็นพระอาจารย์ จึงหวังเสด็จไปโปรด แต่ทั้งสองท่านเสียชีวิตแล้ว พระองค์จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 ที่เคยมาเฝ้ารับใช้ จึงได้เสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

          ธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงธรรมคือ "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แปลว่าสูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไป ซึ่งถือเป็นการแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรก ในวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรงกับวันอาสาฬหบูชา

          ในการนี้พระโกณฑัญญะได้ธรรมจักษุ คือดวงตาเห็นธรรมเป็นคนแรก พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งวาจาว่า "อัญญาสิ วตโกณฑัญโญ" แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้ว ท่านโกณฑัญญะ จึงได้สมญาว่า อัญญาโกณฑัญญะ และได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา โดยเรียกการบวชที่พระพุทธเจ้าบวชให้ว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"
          หลังจากปัญจวัคคีย์อุปสมบททั้งหมดแล้ว พุทธองค์จึงทรงเทศน์อนัตตลักขณสูตร ปัญจวัคคีย์จึงสำเร็จเป็นอรหันต์ในเวลาต่อมา


 ประวัติพระพุทธเจ้า : การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
          ต่อมาพระพุทธเจ้าได้เทศน์พระธรรมเทศนาโปรดแก่ยสกุลบุตร รวมทั้งเพื่อนของยสกุลบุตร จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด รวม 60 รูป

          พระพุทธเจ้าทรงมีพระราชประสงค์จะให้มนุษย์โลกพ้นทุกข์ พ้นกิเลส จึงตรัสเรียกสาวกทั้ง 60 รูป มาประชุมกัน และตรัสให้พระสาวก 60 รูป จาริกแยกย้ายกันเดินทางไปประกาศศาสนา 60 แห่ง โดยลำพัง ในเส้นทางที่ไม่ซ้ำกัน เพื่อให้สามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ในหลายพื้นที่อย่างครอบคลุม ส่วนพระองค์เองได้เสด็จไปแสดงธรรม ณ ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม
          หลังจากสาวกได้เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพื้นที่ต่างๆ ทำให้มีผู้เลื่อมใสพระพทุธศาสนาเป็นจำนวนมาก พระองค์จึงทรงอนุญาตให้สาวกสามารถดำเนินการบวชได้ โดยใช้วิธีการ "ติสรณคมนูปสัมปทา" คือ การปฏิญาณตนเป็นผู้ถึงพระรัตนตรัย พระพุทธศาสนาจึงหยั่งรากฝังลึกและแพร่หลายในดินแดนแห่งนั้นเป็นต้นมา


 ประวัติพระพุทธเจ้า : เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

ประวัติพระพุทธเจ้า


          พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์และแสดงพระธรรมเทศนา ตลอดระยะเวลา 45 พรรษา ทรงสดับว่า อีก 3 เดือนข้างหน้าจะปรินิพพาน จึงได้ทรงปลงอายุสังขาร ขณะนั้นพระองค์ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวลาสี แคว้นวัชชี โดยก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน 1 วัน พระองค์ได้เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะทำถวาย แต่เกิดอาพาธลง ทำให้พระอานนท์โกรธ แต่พระองค์ตรัสว่า "บิณฑบาตที่มีอานิสงส์ที่สุด มี 2 ประการ คือ เมื่อตถาคต (พุทธองค์) เสวยบิณฑบาตแล้วตรัสรู้ และปรินิพพาน" และมีพระดำรัสว่า "โย โว   อานนท   ธมม  จ วินโย มยา เทสิโต ปญญตโต  โส  โว  มมจจเยน  สตถา" อันแปลว่า  "ดูก่อนอานนท์  ธรรมและวินัยอันที่เราแสดงแล้ว  บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย  ธรรมวินัยนั้น  จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย  เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว"

          พระพุทธเจ้าทรงประชวรหนัก แต่ทรงอดกลั้นมุ่งหน้าไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน โดยก่อนที่จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนั้น พระองค์ได้อุปสมบทแก่พระสุภัททะปริพาชก  ซึ่งถือได้ว่า "พระสุภภัททะ" คือสาวกองค์สุดท้ายที่พระพุทธองค์ทรงบวชให้ ในท่ามกลางคณะสงฆ์ทั้งที่เป็นพระอรหันต์ และปุถุชนจากแคว้นต่างๆ รวมทั้งเทวดา ที่มารวมตัวกันในวันนี้

          ในครานั้นพระองค์ทรงมีปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย สังขารทั้งปวงมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา พวกเธอจึงทำประโยชน์ตนเอง และประโยชน์ของผู้อื่นให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" (อปปมาเทน สมปาเทต) 
          จากนั้นได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ใต้ต้นสาละ ณ สาลวโนทยาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 รวมพระชนม์ 80 พรรษา และวันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของพุทธศักราช 

วิธีทําคุกกี้ธัญพืช

วิธีทําคุกกี้ธัญพืช


ส่วนผสม คัดลอกของน้องปุ๊มาเลยคะ จากที่เค้าปรับสูตรแล้วนะคะ

คอร์นเฟลกหรือซีเรียล 1 + 1/2 ถ้วย (ปุ๊ใช้ 2 ถ้วย ฮ่า ชอบ) จุ๋มก็ใช้ 2 ถ้วยตามน้องปุ๊เลยคะ
อัลมอนด์หั่นหยาบ 1/4 ถ้วย
ลูกเกด 1/4 ถ้วย
เมล็ดทานตะวันอบกรอบ 1/8 ถ้วย (หาซื้อที่เซเว่น) จุ๋มซื้อแบบที่ยังไม่ได้อบมาค่ะ คอยชมต่อ
เมล็ดฟักทองอบกรอบ 1/8 ถ้วย (หาซื้อที่เซเว่น) จุ๋มซื้อแบบที่ยังไม่ได้อบมาค่ะ คอยชมต่อ
งาดำ 1/2 ช้อนโต๊ะ (ปุ๊ไม่มีเลยไม่ใส่) ไม่มีเหมือนกันค่ะ เลยเพิ่มงาขาวอีกเท่าตัว
งาขาว 1/2 ช้อนโต๊ะ (จุ๋มใส่ 1 ช้อนโต๊ะค่ะ)

น้ำผึ้ง 1/4 ถ้วย
มาการีน 25 กรัม
เนยเค็ม 25 กรัม (ใครไฮโซหน่อยใช้ถังทองไม่ว่ากันค่ะ)
นมข้นหวาน 1 + 1/2 ช้อนโต๊ะ
เกลือ 1 หยิบมือ (ไม่ใส่ก็ได้ค่ะ ส่วนปุ๊ไม่ได้ใส่เพราะมีเนยเค็มแล้ว) จุ๋มใส่หยิบนิ้วค่ะ แต่ก็ใช้เนยเค็มนะ
แป้งสาสีอเนกประสงค์ 1 + 1/2 ช้อนโต๊ะ (ปุ๊ใส่ 3/4 ช้อนโต๊ะค่ะ) จุ๋มใส่ 3/4 ช้อนโต๊ะเท่าปุ๊ค่ะ

ข้างบนเป็นส่วนธัญพืชนะคะ ส่วนล่างเป็นส่วนน้ำยำ ทำตามสูตรน้องปุ๊ที่ปรับแล้วรสชาติดีมาก แต่น้ำยำจะเหลือ แนะนำให้เพิ่มส่วนธัญพืชไปเกือบเท่าตัวเลยคะ จะพอดีกัน ปุ๊เคยบอกจุ๋มแล้วแต่จุ๋มลืมค่ะ ว่าน้ำยำจะเหลือ

จุ๋มทำ double สูตรนะคะ คือใช้คอร์นเฟล็กซ์ 4 ถ้วย


จุ๋มใช้เม็ดทานตะวันแบบนี้ค่ะ 450 กรัม หากจำไม่ผิด 120 บาท ยังไม่ได้อบนะคะ เราต้องนำมาอบให้สุกและกรอบก่อน


เม็ดฟักทอง หนักเท่ากัน ราคา 140 บาท ต้องนำมาอบก่อนเหมือนกัน


อัลมอนด์จุ๋มใช้แบบสติ๊กและติดเปลือกค่ะ ใครชอบแบบไหนก็ใช้แบบนั้นนะคะ หรือจะเปลี่ยนเป็นเม็ดมะม่วงหิมพานต์แทนก็ได้ค่ะ


ธัญพืชทั้งหลายหากยังไม่สุกอบก่อนนะคะ ให้สุก กรอบ หอม แต่ห้ามผิวนิโกร


ลูกเกดจะเลือกใช้สีขาวก็ได้ค่ะ แต่สีสันคุกกี้จะจืดชืด หรือจะใช้ปนกันก็ได้นะคะ


แยกของเป็นประเภท ๆ ไว้ ห้ามลนลานค่ะ อันนี้ส่วนน้ำยำ


ธัญพืชจุ๋มอบด้วยไฟ 160-170 องศาซีค่ะ ใส่แยกกันคนละถาด เพราะมันสุกไม่พร้อมกัน จะได้ไม่พลาด เปิดเตาดูและคนเป็นระยะ เช็คสุกใช้วิธีชิมด้วยลิ้น ดูด้วยตา และดมด้วยกลิ่นเอาเองนะคะ


งาจะสุกง่ายค่ะ ก่อนเอางาไปอบ ล้างน้ำผ่าน ๆ และพักให้สะเด็ดน้ำเสียนิดหน่อยนะคะ งาสุกง่ายกว่าอย่างอื่น ให้เอาออกมาก่อน ระวังจะไหม้คะ


ธัญพืชที่อบสุกแล้วและลูกเกดเทใส่ชามผสมใบใหญ่หน่อย พักไว้ก่อน


นมข้นหวาน มาการีน แป้ง เทใส่หม้อใบย่อม ๆ จุ๋มพลาดไปค่ะ เอาเนยใส่ไปตอนนี้ด้วยเลย แต่ไม่มีผลอะไรมากนะคะ


ตั้งไฟอ่อน ๆ กวนให้เข้ากัน คนตลอด ระวังไหม้ มันเข้มข้นค่ะ ไม่มีน้ำเลย


คนตลอดจนมาการีนละลายหมด แป้งไม่เป็นเม็ด


เทน้ำผึ้งใส่ลงไปค่ะ จุ๋มใช้ถ้วยตวงของเหลวตวงน้ำผึ้งนะคะ


ใส่น้ำผึ้งลงไปแล้วคนตลอด ไฟอ่อน ๆ เหมือนเดิม ระวังไหม้ ให้เดือดปุด ๆ แล้วปิดเตา เอาเนยสดใส่คนให้เนยละลายให้หมด เป็นอันเสร็จ แต่จุ๋มใส่เนยสดไปตอนแรกแล้วนะคะ เลยไม่มีภาพใส่เนยตอนนี้


แล้วก็เอาน้ำยำที่ทำไว้เทใส่ลงไปค่ะ น้ำยำ 1 สูตรจะได้ประมาณ 1/2 ถ้วยกว่า ๆ (อันนี้จุ๋มทำ double สูตรค่ะ) เทน้ำยำใส่ลงไปในธัญพืชประมาณ 1/8 ถ้วยค่ะ


แล้วเอาทัพพีเคล้าให้เข้ากันก่อน ให้น้ำยำเคลือบธัญพืชทั่ว ๆ ค่ะ อย่าใส่น้ำยำทีเดียวหมดนะคะ มันเยอะไปค่ะ สุดท้ายคุกกี้จะเป็นทอฟฟี่ค่ะ ปุ๊บอกเอาไว้ค่ะ


แล้วก็เทคอร์นเฟล็กซ์ใส่ไป 1/2 ถ้วยก่อนค่ะ ใส่คอร์นเฟล็กซ์ทีหลังมันจะได้ไม่แตกหักนะคะ ปุ๊บอกมาอีกเหมือนกัน


แล้วก็เคล้าพอเข้ากัน เทคอร์นเฟล็กซ์ใส่ไปอีก 1/2 ถ้วย เคล้าต่อ คราวนี้มันจะออกร่วนหน่อย เทน้ำยำลงไปเพิ่มอีก 1/8 ถ้วย


คราวนี้เทคอร์นเฟล็กซ์อีก 1 ถ้วยลงไปเลยคะ เคล้าพอเข้ากัน อย่าให้คุกกี้เปียกมาก เพราะอบแล้วจะกลายเป็นทอฟฟี่แข็งมาก และติดก้นกระดาษด้วย ถ้าน้ำยำน้อยไปคุกกี้จะร่วนไป เวลาแกะแล้วไม่เป็นกลุ่มก้อน สุดท้ายได้มาแบบนี้นะคะ

สรุปให้เลยว่า หากทำน้ำยำเต็มสูตรตามปุ๊บอก ใช้คอร์นเฟล็กซ์เกือบ 4 ถ้วยค่ะ ธัญพืชอื่น ๆ ก็ลดลงไปนิดหน่อยนะคะ จะพอดีกัน


แล้วก็หยิบคุกกี้ใส่กระทงกระดาษเล็ก ๆ เลยคะ กระทงเล็กจุ๋มจิ๋ม เสียเวลาหยิบพอควรนะคะ จุ๋มทำ double สูตร ได้มา 1 ถาดแยมโรล กะอีกนิดหน่อย ไม่ได้นับจำนวนแน่นอนค่ะ


แล้วก็นำไปอบไฟ 160 องศาซี ประมาณ 10 นาที ให้หน้าคุกกี้เหลืองทอง จุ๋มอบไฟบนและล่างค่ะ ใช้ดูสีเอา หน้าเค้าจะเงาขึ้น


เสร็จแล้วพักไว้ให้เย็น เก็บใส่กล่องมีฝาปิดค่ะ เรียบร้อยโรงเรียนปุ๊



>O<น่ากินๆๆๆๆ 

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

ประวัติและเรื่องราว PB Point Blank

ในปี 2551 บริษัทเปิดตัวเกม พ้อยท์แบงค์ หรือ PB จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2551 พฤศจิกายน วันที่ 4 แถลงข่าวเปิดตัวเกม Point Blank, Pre Close Beta ครั้งแรก ธันวาคม วันที่ 8 Pre Close Beta เกม Point Blank ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2552 มกราคม Open Beta เกม Point Blank และเปิดตัวเกม Point Blank ในงาน Thailand Game Show 2009 และ จัดกิจกรรมออก Road Show กับร้าน Internet กุมภาพันธ์ เปิดระบบ Point Blank Cash Shop และเริ่มต้นการแข่งขัน PB Tournament The Hunter เมษายน เกม Point Blank จัด First Meeting กับผู้เล่นคอเกมเมอร์ พฤษภาคม วันที่ 21 ฉลองรับ 2 ล้านไอดีเกม Point Blankมิถุนายน เปิดระบบไอเท็ม ของขวัญ กรกฎาคม วันที่ 23 ครั้งแรกกับการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างเกม Point Blank กับ เกม Lineage II ในกิจกรรม "คู่ซี้ต่างเกมส์" ตุลาคม Point Blank ฉลอง 3 ล้านไอดีเกม พร้อมเปลี่ยนระบบภายในเกมส์ใหม่ 2 ปีที่เหลือไม่มีบันทึก แต่เราๆน่าจะรู้กันดีว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ป.ล.จาก นั้นปี 2550 บริษัทเปิดเกม เครซี่ มอน เรซซิ่ง หรือ (CMR) และปิดตัวเกมลงปี2554 สำหรับยุครุ่งเรืองที่สุด (Golden Age) และเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดของ PB น่าจะ เป็นช่วงปี 2009 - ต้นปี 2010 เพราะมีการอัพแพทใหม่ ๆ เข้ามามากมาย และยังมีการเปลี่ยนแปลงระบบซ่อมปืน จากเป็นเวลามาเป็นซ่อมตามการใช้ งาน และชาว PB ได้รู้จักกับ AUG A3 , Kriss Super V , L115A1 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน และการเล่นในสมัยนั้นยังเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม ไม่มีโปรแกรมโกงแพร่ระบาดเหมือนในยุคนี้
(จะบอกว่าไม่มีเลยผมไม่แน่ใจอะ แต่ ถ้ามีคงน้อยแบบสุด ๆ จริง ๆ )

PB-Point Blank awaydrink

ความเป็นมาของเกมส์ Point Blank การเติบโตของประเทศในรูปแบบของการก้าวกระโดด ที่พัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศให้ก้าวขึ้นไปอย่างรวดเร็วเพื่อก้าวไปสู่การเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจ ได้ทิ้งไว้ซึ่งระเบิดเวลาแห่งความเสื่อมทรามทางสังคม ที่กัดกร่อนทำลายพื้นฐานของการอยู่รน่วมกันของมนุษย์ไปอย่างช้าๆ โดยไม่รู้ตัว และนำไปสู่การล่มสลายของระบบความครัวอย่างน่าเวทนา อัตราการเกิดของประชากรในประเทศช้าลงอย่างน่าใจหาย และเคยเป็นมาก่อน และเมื่อการเติบโตสวนทางกักจำนวนประชากรวัยแรงงานเช่นนี้รัฐบาลก็มิอาจจะนิ่งเฉยย่อมไม่ได้ จึงมีนโยบายเกณฑ์คนจากประเทศอื่น ๆ เข้ามาทดแทนในส่วนของแรงงานที่แคลนเต็มที่ และนั่่นเอง จึงเป็นการเริ่มต้นแห่งปฐมบทของการต่อสู้ครั้งใหม่ในประเทศแห่งนี้ เหล่าชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศอย่างมากมายเริ่มสร้างสังคมเล็กๆ ขึ้นมา รวมถึงการสร้างครอบครัวและให้กำเนิดเหล่ามนุษย์ "เลือดผสม" ขึ้นมา ตอนช่วงเกม pb เปิดใหม่ ก็คือเป็นเกมฮิต ของ FPS ออนไลน์ต้นๆเลยเพราะกราฟฟิค ความสนุก และการยิงแบบมันส์กระจาย ทำให้คนอย่างจะมาเล่นมากขึ้น ช่วงแรกที่ pb เปิด ถือเป็นเกม FPS ออนไลน์สุดฮิตต่อจาก SF (ปัจจุบันโปรระบาดอยู่ขั้นวิกฤ) pb ตอนต้นๆ เมื่อเราสมัครมาจะมีเงินให้ 1 แสนครับ ไม่ใช่ 1 ล้าน ซึ่งอาวุธใน ตอนนั้นยังเป็นวันครับ ซึ่งขอบบอกว่า pb เป็นที่สนุกมากในสมัยนั้นและได้เริ่มเป็นเกม FPS ที่อันดับเริ่ม ขยับขึ้นและเมื่อ ปี 2 ปีที่แล้ว pb ได้สร้างในสิ่งที่ SF ทำไม่ได้ การบริการลูกค้า การแก้ไขปัญหา ก็ดีในระดับ Good ตอนที่ PB คือเกม FPS NO.1 เมื่อตอนปลายปีที่แล้ว เริ่มเห็นแจ้งใด้ชัด โปรเริ่มเข้ามาอย่างเล็กจนระบาด (แต่ไม่เท่าSF) ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของโปรคือ ตอนต้นปีนี้ โปรปั้มยศ-ฉายา ซึ่งเป็นสิ่งที่เกม FPS ไม่เคยมีมาเลย (ออนไลน์นะ) เมื่อมันระบาดขึ้น การป๊มก็เยอะ จนมีคนออกมาหลอกหลวงจนเป็นข่าวที่สร้างแผลให้กับคนโดนหลอกอย่างยิ่ง (รวมถึงกระผลด้วย ตัวเก่านะ) ตอนนี้ PB ได้เจอปัญหาที่แม้ทีมงานคาดไม่ถึง ซึ่งมีแต่ผู้เล่นเท่านั้นที่รู้ คือ โปรแกรม CE ที่ใช้งานกับ W7(วินโด 7) ซึ่งเป็นโปรที่ได้สร้างความแนบเนียนอย่างถาวร แม้แต่คนเก่งยังจับผิดไม่ได้ ซึ่งตอนนนี้ ก็ระบาดอย่างขอ บอก ผลของ CE นะครับ CE ต้องการโค๊ดเพื่อใช้งาน ซึ่งตอนนี้มีหลักเยอะมาก เช่น แฮกปืน เปลี่ยนฉายา เป็นฟันไกล+4 แรง+4 แฮกยศ แฮกฉายาให้เป็นฉายา3เพรชที่ปลดล๊อคปืน ตอนนี้ โปร CE เป็นโปรที่ใช้ในการเล่นอย่างแนบเนียน 100% เอาเถอะ ๆ แม้จะปราบ CE ไม่ได้ แต่ก็ขอให้ทีมงานแก้ไขโปร โดยเฉพาะ CE *หมายเหตุ : หากท่านใดสงสัยว่าทำไมผมถึงรู้เยอะ เพราะผมเคยเห็นมาแล้ว ซึ่งตอนนี้เกม pb ก็เหมือนนาทีชีวิตที่ต่อสู้เพื่ออยู่รอด

วิธีการทำภูเขาไฟจำลอง

vวิธีที่1 เตรียมโซเดียมไบคาร์บอนเนต 2-3 ช้อนโต๊ะ NaHCO3 หรือ โซดาไฟ + CH3COOH + สีแดง + น้ำยาล้างจาน
น้ำส้มสายชู 1 ขวดเล็ก
สีผสมอาหารสีแดง 2-3 หยด
จะทำให้เกิดน้ำปะทุไหลออกมา
·         NaHCO3      = โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต หรือ ผงฟู
·         CH3COOH    = น้ำส้มสายชู
วิธีที่2 ด่างทับทิม + กรีเซอรอล จะเกิดเหมือนการประทุเป็นไฟออกมา
 การทำ
ภูเขา ใช้ ปูนขาว
การระเบิด ใช้ ผงฟู หรือ โซดาไฟ + น้ำส้มสายชู
ส่วน ไฟที่พุ่งออกมา ใช้ ด่างทับทิม + น้ำส้มสายชู


สมบัติผู้ดี



สมบัติของผู้ดี ผู้เรียบเรียง เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราบดี
ผู้จัดทำคำอธิบายเพิ่มเติม ม.ล.ป้อง มาลากุล ๒๕๐๓
ผู้ตรวจทาน นายสุชีพ ปุญญานุภาพ
INDEX BOTTOM NEXT 

คู่มือหลักในการดำเนินชีวิต 








ปรารภ
           
              หนังสือเก่า ๆ เล่มนี้ หากจะให้ใครเป็นของขวัญ ถ้าผู้รับจะไม่คิดเพียงว่าเป็นเรื่องเชยล้าสมัย ก็อาจจะพาลโกรธด้วยคิดว่ากำลังถูกด่าทางอ้อมว่าเป็นคนไม่มีมรรยาทชาติตระกูล ดังเช่นที่เรามักได้ยินบ่อย ๆ ในนิยายหรือในละครโทรทัศน์ และส่วนใหญ่แล้วผู้ที่อ้างหนังสือนี้มักจะคิดถึงคนโน้นคนนี้ว่าสมควรต้องนำไปประพฤติเพื่อปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น มากกว่าจะคิดว่าแท้จริงแล้วเราเองแต่ละคนก็ต้องฝึกฝนขัดเกลาและปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยเช่นกัน

             ในการอยู่ร่วมกันในสังคม มนุษย์เราจำต้องมีปฏิสัมพันธ์ในการทำ การพูด และการรู้สึกนึกคิดต่อผู้อื่น เพื่อให้การอยู่ร่วมกันเป็นไปโดยราบรื่นไม่มีข้อขัดแย้งจึงจำต้องมีกฏกติกา มรรยาท ของการอยู่ร่วมกัน โดยพื้นฐานก็คือ สิ่งใดที่เราไม่อยากให้คนอื่นทำกับเรา ก็ไม่ควรทำเช่นนั้นกับเขา สิ่งใดที่เรายินดีชื่นชม หรือรักใคร่เอ็นดู เมื่อได้ยินได้เห็น ได้รับการปฏิบัติต่อ คนอื่นก็ปรารถนาจะได้รับเช่นเดียวกัน ดังนั้นการประพฤติปฏิบัติต่อกันและกันโดยเหมาะสมกับเพศ วัย สถานะตำแหน่ง ในสถานที่และโอกาสอันควร จึงนับเป็นหลักการหรือวัตถุประสงค์หลักที่เราควรคำนึงถึง มากกว่าจะติดอยู่กับข้อบกพร่องปลีกย่อยด้านการใช้ภาษาหรือขนบธรรมเนียมเก่า ๆ พ้นสมัยที่อาจจะปรากฏอยู่บ้างในหนังสือเล่มนี้
             กล่าวโดยสรุป คำว่า"ผู้ดี"ในที่นี้จึงมิใช่เรื่องของการแบ่งชนชั้นทางสังคม มิใช่เรื่องแบบแผนพิธีรีตองเจ้ายศเจ้าอย่าง หรือการสร้างภาพเพื่อหวังผลประโยชน์แอบแฝงอย่างใดอย่างหนึ่ง หากแต่เป็นหลักการประพฤติปฏิบัติตนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ใจเขา-ใจเรา ข้อปฏิบัติเหล่านี้เป็นมาตรฐานทางสังคมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เสมอในทุกยุค เป็นการขัดเกลาตนให้มีระเบียบวินัย มีทัศนคติที่ดีต่อกัน เมตตากรุณาต่อกัน มีหิริโอตตัปปะที่จะไม่เอารัดเอาเปรียบ แทนความโกรธ เกลียด หยาบคายต่อกัน เพราะผู้มีจิตใจดีย่อมสะท้อนออกมาในรูปของจริยามรรยาท ความละมุนละไม นุ่มนวล ตรงข้ามกับความกักขละ หยาบคาย ทำอะไรตามอำเภอใจ ซึ่งย่อมไม่เป็นที่ยินดีคบหาหรือแม้แต่พบเห็นเข้าใกล้ ของบุคคลทั่วไป
            สมบัตินี้ไม่ใช่วัตถุสิ่งของที่ต้องแบกหามหรือซื้อหา หากแต่เป็นสมบัติประดับกายประดับใจให้เจ้าของเป็นผู้ดีมีคุณค่า มีความสง่างามในตัวเอง ถ้าหากความงามของเหล่าสงฆ์ที่มาจากหลากหลายวรรณะชั้นชนเกิดขึ้นด้วยบัญญัติแห่งพระธรรมวินัย ให้มีความสำรวมในการดื่มฉัน การเดิน ยืน นั่งนอน ฆราวาสชนทั่วไปก็อาจฝึกตนให้มีความงามได้ด้วยระเบียบวินัยอันเป็นสมบัติของผู้ดีเช่นเดียวกัน


Odz Webslave
๑๐ ตุลา ๔๘













คำนำ 


             หนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง "สมบัติของผู้ดี" ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้มอบ ม.ล. ป้อง มาลากุล จัดทำคำอธิบายเพิ่มเติมจากหนังสือสมบัติของผู้ดี ของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เพื่อให้อ่านเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับเด็ก ระดับประถมศึกษา และมอบให้นายสุชีพ ปุญญานุภาพ เป็นผู้ตรวจทานนี้ กรมวิชาการได้มอบให้องค์การค้าของคุรุสภาจัดพิมพ์จำหน่ายใช้ประกอบการ เรียนการสอนตามหลักสูตรประโยคประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๕๐๓ มาตั้ง แต่ปีพุทธศักราช ๒๕๐๔ และในการที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้หลัก สูตรประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๕๒๑ ก็ปรากฏว่าหนังสือนี้สามารถใช้ประกอบการเรียนการสอนระดับประถมศึกษากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต และกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย ได้อย่างดียิ่ง จึงได้มอบให้องค์การค้าของคุรุสภาจัดพิมพ์จำหน่ายต่อไป

(นายสุรเดช วิเศษสุรการ)
อธิบดีกรมวิชาการ
๑ มีนาคม ๒๕๒๗







สมบัติของผู้ดี
 

ภาค ๑ 
ผู้ดี ย่อมรักษา ความเรียบร้อย
กายจริยา (คลิก Link สีแดงดูรายละเอียดในภาคผนวก) คือ
(๑) ย่อมไม่ใช้กิริยาข้ามกรายบุคคล.
(๒) ย่อมไม่อาจเอื้อมในที่ต่ำสูง.
(๓) ย่อมไม่ล่วงเกินถูกต้องผู้อื่นซึ่งไม่ใช่หยอกกันฐานเพื่อน.
(๔) ย่อมไม่เสียดสีกระทบกระทั่งกายบุคคล.
(๕) ย่อมไม่ลุกนั่งเดินเหินให้พรวดพราดโดนผู้คนหรือสิ่งของแตกเสียหาย.
(๖) ย่อมไม่ส่งของให้ผู้อื่นด้วยกิริยาอันเสือกไสผลักโยน.
(๗) ย่อมไม่ผ่านหน้าหรือบังตาผู้อื่น เมื่อเขาดูสิ่งใดอยู่ เว้นแต่เป็นที่เฉพาะไป.
(๘) ย่อมไม่เอิกอึงเมื่อเวลาผู้อื่นทำกิจ.
(๙) ย่อมไม่อื้ออึงในเวลาประชุมสดับตรับฟัง.
(๑๐) ย่อมไม่แสดงกิริยาตึงตัง หรือพูดจาอึกทึกในบ้านแขก.

วจีจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่สอดสวนวาจาหรือแย่งชิงพูด.
(๒) ย่อมไม่พูดด้วยเสียงอันดังเหลือเกิน.
(๓) ย่อมไม่ใช้เสียงตวาด หรือพูดจากระโชกกระชาก.
(๔) ย่อมไม่ใช้วาจาอันหักหาญดึงดัน.
(๕) ย่อมไม่ใช้ถ้อยคำอันหยาบคาย.

มโนจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านกำเริบหยิ่งโยโส.
(๒) ย่อมไม่บันดาลโทสะให้เสียกิริยา.




สมบัติของผู้ดี 
ภาค ๒ 
ผู้ดี ย่อมไม่ทำอุจาดลามก 
กายจริยา คือ
(๑) ย่อมใช้เสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวอันสะอาด และแต่งโดยเรียบร้อยเสมอ.
(๒) ย่อมไม่แต่งตัวในที่แจ้ง.
(๓) ย่อมไม่จิ้มควักล้วงแคะแกะเการ่างกายในที่ชุมชน.
(๔) ย่อมไม่กระทำการที่ควรจะทำในที่ลับในที่แจ้ง.
(๕) ย่อมไม่หาวเรอให้ปรากฏในที่ชุมชน.
(๖) ย่อมไม่จามด้วยเสียงอันดังและโดยไม่ป้องกำบัง.
(๗) ย่อมไม่บ้วนขากด้วยเสียงอันดัง หรือให้เปรอะเปื้อน ให้เป็นที่รังเกียจ.
(๘) ย่อมไม่ลุกลนเลอะเทอะมูมมามในการบริโภค.
(๙) ย่อมไม่ถูกต้องหรือหยิบยื่นสิ่งที่ผู้อื่นจะบริโภคด้วยมือตน.
(๑๐) ย่อมไม่ล่วงล้ำ ข้ามหยิบ ของบริโภคผ่านหน้าผู้อื่น ซึ่งควรขอโทษและขอให้เขาส่งได้.
(๑๑) ย่อมไม่ละลาบละล้วงเอาของผู้อื่นมาใช้ในการบริโภค เช่น ถ้วยน้ำ และผ้าเช็ดมือ.
(๑๒) ย่อมไม่เอาเครื่องใช้ของตน เช่น ช้อนส้อมไปล้วงตักสิ่งบริโภคซึ่งเป็นของกลาง.
(๑๓) ย่อมระวัง ไม่พูดจาตรงหน้าผู้อื่นให้ใกล้ชิดเหลือเกิน.

วจีจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่กล่าวถึงสิ่งโสโครกพึงรังเกียจในท่ามกลางประชุมชน.
(๒) ย่อมไม่กล่าวถึงสิ่งควรปิดบังในท่ามกลางประชุมชน. มโนจริยา คือ
(๑) ย่อมพึงใจที่จะรักษาความสะอาด. ภาคสาม ผู้ดี ย่อมมีสัมมาคาราวะ. 




สมบัติของผู้ดี 
ภาค ๓ 
ผู้ดี ย่อมมีสัมมาคารวะ
กายจริยา คือ
(๒) ย่อมนั่งด้วยกิริยาสุภาพเฉพาะหน้าผู้ใหญ่
(๓) ย่อมไม่ขึ้นหน้าผ่านผู้ใหญ่.
(๔) ย่อมไม่หันหลังให้ผู้ใหญ่.
(๕) ย่อมแหวกที่หรือให้ที่นั่งอันสมควรแก่ผู้ใหญ่หรือผู้หญิง.
(๖) ย่อมไม่ทัดหรือคาบบุหรี่ คาบกล้อง และสูบให้ควันไปรมผู้อื่น.
(๗) ย่อมเปิดหมวกเมื่อเข้าชายคาบ้านผู้อื่น
(๘) ย่อมเปิดหมวกในที่เคารพ เช่น โบสถ์ วิหาร ไม่ว่าแห่งศาสนาใด.
(๙) ผู้น้อยย่อมเคารพผู้ใหญ่ก่อน.
(๑๐) ผู้ชายย่อมเคารพผู้หญิงก่อน.
(๑๑) ผู้ลาย่อมเป็นผู้เคารพก่อน.
(๑๒) ผู้เห็นก่อนโดยมากย่อมเคารพก่อน.
(๑๓) แม้ผู้ใดเคารพตนก่อน ย่อมต้องตอบเขาทุกคน ไม่เฉยเสีย.
วจีจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่พูดจาล้อเลียนหลอกลวงผู้ใหญ่.
(๒) ย่อมไม่กล่าวร้ายถึงญาติมิตรที่รักใคร่นับถือของผู้ฟังแก่ผู้ฟัง.
(๓) ย่อมไม่กล่าววาจาติเตียนสิ่งเคารพหรือที่เคารพของผู้อื่นแก่ตัวเขา.
(๔) เมื่อจะขอทำล่วงเกินแก่ผู้ใด ย่อมต้องขออนุญาตตัวเขาก่อน.
(๕) เมื่อตนทำพลาดพลั้งสิ่งใด แก่บุคคลใด ควรออกวาจาขอโทษเสมอ.
(๖) เมื่อผู้ใดได้แสดงคุณต่อตนอย่างไร ควรออกวาจาขอบคุณเขาเสมอ.

มโนจริยา
 คือ
(๑) ย่อมเคารพยำเกรงบิดามารดาและอาจารย์.
(๒) ย่อมนับถือนอบน้อมต่อผู้ใหญ่.
(๓) ย่อมมีความอ่อนหวานแก่ผู้น้อย.


สมบัติของผู้ดี 
ภาค ๔ 
ผู้ดี ย่อมมีกิริยาเป็นที่รัก
กายจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่ฝ่าฝืนเวลานิยม คือ ไม่ไปใช้กิริยายืนเมื่อเขานั่งกับพื้นและไม่ไปนั่งกับพื้นเมื่อเวลาเขายืนเดินกัน.
(๒) ย่อมไม่ไปนั่งนานเกินสมควรในบ้านของผู้อื่น.
(๓) ย่อมไม่ทำกิริยารื่นเริงเมื่อเขามีทุกข์.
(๔) ย่อมไม่ทำกิริยาโศกเศร้าเหี่ยวแห้งในที่ประชุมรื่นเริง.
(๕) เมื่อไปสู่ที่ประชุมการรื่นเริงย่อมช่วยสนุกชื่นบานให้สมเรื่อง.
(๖) เมื่อเป็นเพื่อนเที่ยว ย่อมต้องกลมเกลียวและร่วมลำบากร่วมสนุก.
(๗) เมื่อตนเป็นเจ้าของบ้าน ย่อมต้องต้อนรับและเชื้อเชิญแขกไม่เพิกเฉย.
(๘) ย่อมไม่ทำกิริยาบึกบึนต่อแขก.
(๙) ย่อมไม่ให้แขกต้องคอยนานเมื่อเขามาหา.
(๑๐) ย่อมไม่จ้องดูนาฬิกาในเวลาที่แขกยังนั่งอยู่.
(๑๑) ย่อมไม่ใช้กิริยาอันบุ้ยใบ้หรือกระซิบกระซาบกับผู้ใด ในเวลาเฉพาะเมื่อตนอยู่ต่อหน้าผู้หนึ่ง.
(๑๒) ย่อมไม่ใช่กิริยาอันโกรธเคือง หรือดุดันผู้คนบ่าวไพร่ต่อหน้าแขก.
(๑๓) ย่อมไม่จ้องดูบุคคลโดยเพ่งพิศเหลือเกิน.
(๑๔) ย่อมต้องรับส่งแขกเมื่อไปมา ในระยะอันสมควร.

วจีจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่เที่ยวติเตียนสิ่งของที่เขา ตั้ง แต่ง ไว้ในบ้านที่ตนไปสู่.
(๒) ย่อมไม่กล่าวสรรเสริญรูปกายบุคคลแก่ตัวเขาเอง.
(๓) ย่อมไม่พูดให้เพื่อนเก้อกระดาก.
(๔) ย่อมไม่พูดเปรียบเปรยเกาะแกะสตรีกลางชุมชน.
(๕) ย่อมไม่ค่อนแคะติรูปกายบุคคล.
(๖) ย่อมไม่ทักถึงการร้ายโดยพลุ่งโพล่งให้เขาตกใจ.
(๗) ย่อมไม่ทักถึงสิ่งอันน่าอายน่ากระดากโดยเปิดเผย.
(๘) ย่อมไม่เอาสิ่งที่น่าจะอายจะกระดากมาเล่าให้แขกฟัง.
(๙) ย่อมไม่เอาเรื่องที่เขาพึงซ่อนเร้นมากล่าวให้อับอายหรือเจ็บใจ.
(๑๐) ย่อมไม่กล่าวถึงการอัปมงคลในเวลามงคล.

มโนจริยา
 คือ
(๑) ย่อมรู้จักเกรงใจคน.
 



สมบัติของผู้ดี
 

ภาค ๕ 
ผู้ดี ย่อมเป็นผู้มีสง่า
 
กายจริยา คือ
(๑) ย่อมมีกิริยาอันผึ่งผายองอาจ.
(๒) จะยืนนั่ง ย่อมอยู่ในลำดับอันสมควร ไม่เป็นผู้แอบหลังคนหรือหลีกเข้ามุม.
(๓) ย่อมไม่เป็นผู้สะทกสะท้านงกเงิ่นหยุด ๆ ยั้ง ๆ .

วจีจริยา คือ
(๑) ย่อมพูดจาฉะฉานชัดถ้อยความ ไม่อุบอิบอ้อมแอ้ม.

มโนจริยา
 คือ
(๑) ย่อมมีความรู้จักงามรู้จักดี.
(๒) ย่อมมีอัชฌาสัยอันกว้างขวาง เข้าไหนเข้าได้.
(๓) ย่อมมีอัชฌาสัยเป็นนักเลง ใครจะพูดหรือเล่นอันใดก็เข้าใจและต่อติด.
(๔) ย่อมมีความเข้าใจว่องไวไหวพริบ รู้เท่าถึงการณ์.
(๕) ย่อมมีใจอันองอาจกล้าหาญ.


สมบัติของผู้ดี 
ภาค ๖ 
ผู้ดี ย่อมปฏิบัติการงานดี
 
กายจริยา คือ
(๑) ย่อมทำการอยู่ในระเบียบแบบแผน.
(๒) ย่อมไม่ถ่วงเวลาให้คนอื่นคอย.
(๓) ย่อมไม่ละเลยที่จะตอบจดหมาย.
(๔) ย่อมไม่ทำการแต่ต่อหน้า.

วจีจริยา คือ
(๑) พูดสิ่งใดย่อมให้เป็นสิ่งที่เชื่อถือได้.
(๒) ย่อมไม่รับวาจาคล่อง ๆ โดยมิได้เห็นว่าการจะเป็นได้หรือไม่.

มโนจริยา คือ
(๑) ย่อมเป็นผู้รักษาความสัตย์ในเวลา.
(๒) ย่อมไม่เป็นผู้เกียจคร้าน.
(๓) ย่อมไม่เข้าใจว่า ผู้ดีทำอะไรด้วยตนไม่ได้.
(๔) ย่อมไม่เพลิดเพลินจนละเลยให้การเสีย.
(๕) ย่อมเป็นผู้รักษาความเป็นระเบียบ.
(๖) ย่อมเป็นผู้อยู่ในบังคับบัญชาเมื่ออยู่ในหน้าที่.
(๗) ย่อมมีมานะในการงานไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก.
(๘) ย่อมเป็นผู้ทำอะไรทำจริง.
(๙) ย่อมไม่เป็นผู้ดึงดันในที่ผิด.
(๑๐) ย่อมปรารถนาความดี ต่อการงานที่ทำอยู่เสมอ.




สมบัติของผู้ดี 
ภาค ๗ 
ผู้ดี ย่อมเป็นผู้ใจดี
 
กายจริยา คือ
(๑) เมื่อเห็นใครทำผิดพลาดอันน่าเก้อกระดาก ย่อมช่วยกลบเกลื่อนหรือทำไม่เห็น.
(๒) เมื่อเห็นสิ่งของของใครตก หรือจะเสื่อมเสีย ย่อมต้องหยิบยื่นให้หรือบอกให้รู้ตัว.
(๓) เมื่อเห็นเหตุร้าย หรืออันตรายจะมีแก่ผู้ใด ย่อมต้องรีบช่วย.

วจีจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่เยอะเย้ยถากถางผู้กระทำผิดพลาด.
(๒) ย่อมไม่ใช้วาจาอันข่มขี่.

มโนจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่มีใจอันโหดเหี้ยมเกรี้ยวกราดแก่ผู้น้อย.
(๒) ย่อมเอาใจโอบอ้อมอารีแก่คนอื่น.
(๓) ย่อมเอาใจช่วยคนเคราะห์ร้าย.
(๔) ย่อมไม่เป็นผู้ซ้ำเติมคนเสียที.
(๕) ย่อมไม่เป็นผู้อาฆาตจองเวร.





สมบัติของผู้ดี 
ภาค ๘ 
ผู้ดี ย่อมไม่เห็นแต่แก่ตัวถ่ายเดียว
 
กายจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่พักหาความสบายก่อนผู้ใหญ่.
(๒) ย่อมไม่เสือกสนแย่งชิงที่นั่งหรือที่ดูอันใด.
(๓) ย่อมไม่เที่ยวแย่งผู้หนึ่งมาจากผู้หนึ่ง ในเมื่อเขาสนทนากัน.
(๔) เป็นผู้ใหญ่ จะไปมาลุกนั่งย่อมไว้ช่องให้ผู้น้อยมีโอกาสบ้าง.
(๕) ในการเลี้ยงดูย่อมแผ่เผื่อ เชื้อเชิญแก่คนข้างเคียงก่อนตน.
(๖) ในที่บริโภค ย่อมหยิบยกยื่นส่งสิ่งของแก่ผู้อื่นต่อ ๆ ไป ไม่มุ่งแต่กระทำกิจส่วนตน.
(๗) ย่อมไม่รวบสามตะกลามสี่กวาดฉวยเอาของที่เขาตั้งไว้เป็นกลาง จนเกินส่วนที่ตนจะได้.
(๘) ย่อมไม่แสดงความไม่เพียงพอใจในสิ่งของที่เขาหยิบยกให้.
(๙) ย่อมไม่นิ่งนอนใจให้เขาออกทรัพย์แทนส่วนตนเสมอ เช่น ในการเลี้ยงดูหรือใช้ค่าเดินทางเป็นต้น.
(๑๐) ย่อมไม่ลืมที่จะส่งของ ซึ่งคนอื่นได้สงเคราะห์ให้ตนยืม.
(๑๑) การให้สิ่งของหรือเลี้ยงดูซึ่งเขาได้กระทำแก่ตน ย่อมต้องตอบแทนเขา.

วจีจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่ขอแยกผู้หนึ่งมาจากผู้หนึ่ง เพื่อจะพาไปพูดจาความลับกัน.
(๒) ย่อมไม่สนทนาแต่เรื่องตนถ่ายเดียว จนคนอื่นไม่มีช่องจะสนทนาเรื่องอื่นได้.
(๓) ย่อมไม่นำธุระตนเข้ากล่าวแทรกในเวลาธุระอื่นของเขาชุลมุน.
(๔) ย่อมไม่กล่าววาจาติเตียนของที่เขาหยิบยกให้แก่ตน.
(๕) ย่อมไม่ไต่ถามราคาของที่เขาได้หยิบยกให้แก่ตน.
(๖) ย่อมไม่แสดงราคาของที่หยิบยกให้แก่ผู้ใดให้ปรากฏ.
(๗) ย่อมไม่ใช้วาจาอันโอ้อวดตนและหลบหลู่ผู้อื่น.

มโนจริยา
 คือ
(๑) ย่อมไม่มีใจมักได้
(๒) ย่อมไม่ตั้งใจปรารถนาของรักเพื่อน.
(๓) ย่อมไม่พึงใจการหยิบยืมข้าวของทองเงินซึ่งกันและกัน.
(๔) ย่อมไม่หวังแต่จะพึ่งอาศัยผู้อื่น.
(๕) ย่อมไม่เป็นผู้เกี่ยงงอนทอดเทการงานตนให้ผู้อื่น.
(๖) ย่อมรู้คุณผู้อื่นที่ได้ทำแล้วแก่ตน.
(๗) ย่อมไม่มีใจริษยา.




สมบัติของผู้ดี 
ภาค ๙ 
ผู้ดี ย่อมรักษาความสุจริตซื่อตรง
 
กายจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่ละลาบละล้วงเข้าห้องเรือนแขกก่อนเจ้าของบ้านเชิญ.
(๒) ย่อมไม่แลลอดสอดส่ายโดยเพ่งเล็งเข้าไปตามห้องเรือนแขก.
(๓) ย่อมไม่เที่ยวฉวยโน่นหยิบนี่ของผู้อื่นดูจนเหลือเกิน ราวกับว่าจะค้นหาสิ่งใด.
(๔) ย่อมไม่เที่ยวขอหรือหยิบฉวยดูจดหมายของผู้อื่นที่เจ้าของไม่มีประสงค์จะให้ดู.
(๕) ย่อมไม่เที่ยวขอหรือหยิบฉวยดูสมุดพกหรือสมุดจดรายงานบัญชีของผู้อื่น ซึ่งตนไม่มีธุระเกี่ยวข้องเป็นหน้าที่.
(๖) ย่อมไม่เที่ยวนั่งที่โต๊ะเขียนหนังสือของผู้อื่น.
(๗) ย่อมไม่เที่ยวเปิดดูหนังสือตามโต๊ะเขียนหนังสือของผู้อื่น.
(๘) ย่อมไม่แทรกเข้าหมู่ผู้อื่นซึ่งเขาไม่ได้เชื้อเชิญ.
(๙) ย่อมไม่ลอบแอบฟังคนพูด.
(๑๐) ย่อมไม่ลอบแอบดูการลับ.
(๑๑) ถ้าเห็นเข้าจะพูดความลับกัน ย่อมต้องหลบตาหรือลี้ตัว.
(๑๒) ถ้าจะเข้าห้องเรือนผู้ใด ย่อมต้องเคาะประตูหรือกล่าววาจาให้เขารู้ตัวก่อน.

วจีจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่ซอกแซกไต่ถามธุระส่วนตัวหรือการในบ้านของเขาที่ไม่ได้เกี่ยวข้องแก่ตน.
(๒) ย่อมไม่เที่ยวถามเขาว่า นั่นเขียนหนังสืออะไร.
(๓) ย่อมไม่เที่ยวถามถึงผลประโยชน์ที่เขาหาได้เมื่อตนไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง.
(๔) ย่อมไม่เอาการในบ้านของผู้ใดมาแสดงในที่แจ้ง.
(๕) ย่อมไม่เก็บเอาความลับของผู้หนึ่งมาเที่ยวพูดแก่ผู้อื่น.
(๖) ย่อมไม่กล่าวถึงความชั่วร้าย อันเป็นความลับเฉพาะบุคคลในที่แจ้ง.
(๗) ย่อมไม่พูดสับปลับกลับกลอกตลบตะแลง.
(๘) ย่อมไม่ใช้คำสบถติดปาก.
(๙) ย่อมไม่ใช้ถ้อยคำมุสา.

มโนจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่เป็นคนต่อหน้าอย่างหนึ่งลับหลังอย่างหนึ่ง.
(๒) ย่อมเป็นผู้รักษาความไว้วางใจแก่ผู้อื่น.
(๓) ย่อมไม่แสวงประโยชน์ในทางที่ผิดธรรม.
(๔) ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในความเที่ยงตรง.




สมบัติของผู้ดี 
ภาค ๑๐ 
ผู้ดี ย่อมไม่ประพฤติชั่ว
 
กายจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่เป็นพาลเที่ยวเกะกะระรั้วและกระทำร้ายคน.
(๒) ย่อมไม่ข่มเหงผู้อ่อนกว่า เช่น เด็กหรือผู้หญิง.
(๓) ย่อมไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเจ็บอาย เพื่อความสนุกยินดีของตน.
(๔) ย่อมไม่หาประโยชน์ด้วยอาการที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน.
(๕) ย่อมไม่เสพสุราจนถึงเมาและติด.
(๖) ย่อมไม่มั่วสุมกับสิ่งอันเลวทราม.
(๗) ย่อมไม่หมกมุ่นในการพนัน เพื่อจะปรารถนาทรัพย์.
(๘) ย่อมไม่ถือเอาเป็นของตน ในสิ่งที่เจ้าของไม่ได้อนุญาตให้.
(๙) ย่อมไม่พึงใจในหญิงที่มีเจ้าของหวงแหน.

วจีจริยา
 คือ
(๑) ย่อมไม่เป็นพาลพอใจทะเลาะวิวาท.
(๒) ย่อมไม่พอใจนินทาว่าร้ายกันและกัน.
(๓) ย่อมไม่พอใจพูดส่อเสียดยุยง.
(๔) ย่อมไม่เป็นผู้สอพลอประจบประแจง.
(๕) ย่อมไม่แช่งชักให้ร้ายผู้อื่น.

มโนจริยา คือ
(๑) ย่อมไม่ปองร้ายผู้อื่น.
(๒) ย่อมไม่คิดทำลายผู้อื่นด้วยประโยชน์ตน.
(๓) ย่อมมีความเหนี่ยวรั้งใจตนเอง.
(๔) ย่อมเป็นผู้มีความละอายแก่บาป.

สบู่แฟนตาซี

สบู่แฟนซี


 
       มาแล้วค่ะตามคำขอ...เดือนนี้เรามาทำสบู่แฟนซีรูปผลส้ม และสบู่ใยบวบกันดีกว่าค่ะ วิธีการทำก็ไม่ยากเลยทีมงาน อาชีพ.คอม เชื่อว่าหากมาลองดูวีธีทำแล้วทุกคนก็สามารถดัดแปลงเป็นสบู่ลวดลายอื่น ๆ ได้อีกมากมายเลยค่ะตามจินตนาการของแต่ละคน...ทำเสร็จแล้วนำไปมอบให้เพื่อนๆ เป็นของขวัญหรือ หากทำจนเชี่ยวชาญแล้วก็นำไปขายก็ได้จัดเป็นงานประดิษฐ์อีกชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจมากเลยค่ะ...  
 
 
 
สิ่งที่ต้องเตรียม
 


 
 1.สบู่กลีเซอรีนเบสแบบใส , สบู่กลีเซอรีนเบสแบบขาวขุ่น 
2.แบบพิมพ์ถ้วยพลาสติก,พิมพ์กด
3.สีผสมอาหาร
4.หม้อต้มสองชั้นสำหรับหลอมสบู่
5.แร็ปพลาสติกใสสำหรับห่อสบู่ (หากต้องการเก็บ)
6แอลกอฮอลล์ 95% (บริสุทธิ์) ในขวดสเปรย์
7กลิ่น Fragrance oil หรือ Essential oil
8ไม้กวน
9แก้วทนความร้อน
10เครื่องชั่ง
11เตาไฟฟ้า หรือ ไมโครเวฟ
12มีดตัดสบู่
13ใยบวบ
         
 
วิธีทำ
 
 
1. สบู่ลายผลส้ม
   

1. นำเบสสบู่ใสกลีเซอรีนใส่ในหม้อสองชั้นตั้งบนเตาไฟฟ้าหลอมสบู่ใส 
   
   
 
2. นำสบู่ใสที่หลอมใส่แก้วทนความร้อนละลายผงสีในน้ำหยดสีตามต้องการ
 
   
   
 
3. ใช้ไม้คนเบา ๆ ให้สีเข้ากัน
 
   
   

4. รอให้ฟองหายค่อยหยดกลิ่นตามต้องการ 
   
   

5. ค่อย ๆ คนกลิ่นให้เข้ากัน 
   
   

6. เทสบู่ใสลงในถ้วยพลาสติก 
   
   

7. รอให้สบู่เซทตัวจนแข็งนำสบู่ออกจากถ้วยพลาสติก 
   
   
 8. ใช้มีดตัดสบู่ให้ได้ 6 ชิ้น 
   
   
 9. ตกแต่งสบู่ที่ตัดใส่ในถ้วยพลาสติกจัดวางให้สวยงาม 
   
   
 10. หลอมเบสสบู่ขาวขุ่นรอให้เย็นค่อยเทใส่ในถ้วยให้เต็ม 
   
   
 11. ค่อย ๆ เทระวังอย่าให้มีฟองอากาศ 
   
   
 12. ฉีดแอลกอฮอลล์ 95% (บริสุทธิ์) ถ้ามีฟองอากาศอยู่บนผิวสบู่ จากนั้นทิ้งไว้รอให้แข็งตัวแล้วค่อยแกะออกจากถ้วยพลาสติก 
   
2. สบู่ใยบวบ
   
 1. ตัดใยบวบให้ได้ขนาด 2 นิ้ว 
   
   
 2. ตัดใยบวบ 2 ชิ้น 
   
   
 3. นำใยบวบใส่ถ้วยพลาสติก 
   
   
 4. หลอมสบู่ใสใส่แก้วทนความร้อนหยดสีเขียว,สีแดงตามต้องการค่อย ๆ คนให้สีเข้ากัน 
   
   
 5. หยดกลิ่นตาม 2-5 หยดลงในสบู่ใสค่อย ๆ คนให้เข้ากัน 
   
   
 6. ค่อย ๆ เทสบู่ใสลงในถ้วย ทั้ง 2 ใบ 2 สี ที่ใส่ใยบวบให้เกือบเต็มถ้วยพลาสติก 
   
   
 7. ทำสบู่สีแดงก่อน... ค่อย ๆ เทระวังเรื่องฟองอากาศ.. 
   
   
 8. แล้วก็มาทำสบู่สีเขียวต่อ... 
   
   
 9. ค่อย ๆ เทเช่นเดียวกัน  
   
   
 10. ฉีดแอลกอฮอลล์สเปรย์ลงในถ้วยพลาสติก 2 ใบ จะได้ไม่มีฟองอากาศอยู่บนผิวสบู่ใส 
   
   
 11. เสร็จแล้วเมื่อแกะออกจากถ้วยพลาสติก ก็จะได้สบู่ใสแฟนซีแบบลายผลส้ม และสบู่ใยบวบ ดังภาพค่ะ 
   
 
ข้อแนะนำ
 
 
  • วิธีการทำช่วงที่ต้มเบสสบู่กับเตาไฟฟ้า..น้องๆ เด็ก ๆ ควรอยู่ในการดูแลของผู้ใหญ่นะคะ
  • เวลาที่เทสบู่ลงพิมพ์ ให้ค่อยๆเทเพื่อให้เกิดฟองที่ผิวสบู่น้อยที่สุด
  • หากต้องการให้สบู่มีลวดลายแปลกตาออกไปก็สามารถดัดแปลงลวดลายและแบบได้ตามจินตนาการ เช่นใช้พิมพ์ลายที่ต้องการกดลงไปที่ตรงกลางของก้อนสบู่ที่แข็งตัวแล้วเพื่อให้เกิดเป็นรูตามรูปทรงที่ใช้กดลงไป จากนั้นใช้สบู่ที่หลอมแล้วและผสมสีที่แตกต่างออกไปจากตัวสบู่ที่ทำในครั้งแรกเทลงไปและรอให้แข็งตัวอีกครั้ง ทีนี้ก็จะได้สบู่แฟนซีแบบและสีเก๋ไก๋ไม่ซ้ำใครแล้วค่ะ  :)