วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ประวัติสมเด็จพระสุริโยทัย

พระราชประวัติ
พระราชประวัติของสมเด็จพระสุริโยทัยยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์สุโขทัย ซึ่งดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจากขุนวรวงศาธิราชได้เพียง ๗ เดือน เมื่อ พ.ศ.๒๐๙๑ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และพระมหาอุปราชาบุเรงนองยกกองทัพพม่า-รามัญเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยผ่านมาทางด้านด่านพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรีและตั้งค่ายล้อมพระนคร การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี จะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนาน - นามว่า "วัดสบสวรรค์" (หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์)
พระราชโอรสและพระราชธิดา
สมเด็จพระสุริโยทัย มีพระราชโอรส-พระราชธิดา ๕ พระองค์ ซึ่งน่าจะเรียงลำดับดังนี้
พระราเมศวร พระราชโอรสองค์โต เป็นพระมหาอุปราช ถูกจับเป็นองค์ประกันแก่พม่า และสิ้นพระชนม์ระหว่างไปหงสาวดี
พระบรมดิลก พระราชธิดา เสียพระชนม์ชีพพร้อมพระมารดาในสงครามคราวเสียพระสุริโยทัย
พระสวัสดิราช พระราชธิดา ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระวิสุทธิกษัตรีย์ อัครมเหสีในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและเป็นพระชนนีของพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ
พระมหินทร์ พระราชโอรสองค์รอง ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระมหินทราธิราช กษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ ใน ปี พ.ศ.๒๑๑๒
พระเทพกษัตรี พระราชธิดา ภายหลังถูกส่งตัวถวายแด่พระไชยเชษฐาแห่งอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งระหว่างการเดินทางถึงชายแดนสยามประเทศพระนางถูกพระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์แห่งพม่าทำการชิงตัวไปยังกรุงหงสาวดี สาเหตุที่พระเจ้าบุเรงนองชิงตัวไปก็เพราะพระเทพกษัตรีเป็นหน่อเนื้อของพระสุริโยทัย
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้มีการก่อสร้าง พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ที่บริเวณทุ่งมะขามหย่อง ตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นพระอนุสาวรีย์ประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระสุริโยทัย
วีรกษัตรีแห่งกรุงศรีอยุธยา

ครั้งรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๐๓๔ ถึงพ.ศ. ๒๐๗๒ เป็นสมัยที่ราชอาณาจักร อโยธยามีเจ้าเหนือหัวครองราชย์ ถึง ๒ พระองค์ หนึ่งนั้นคือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ซึ่งทรงครองราชย์อยู่ ราชธานีฝ่ายใต้ อันได้แก่ กรุง อโยธยาศรีรามเทพนคร ส่วนอีกหนึ่งนั้นเป็นพระอนุชาในสมเด็จพระรามาธิบดี ทรงพระนามว่า พระอาทิตยา ครองราชย์อยู่ยังเมืองพิษณุโลกอันเป็นราชธานีฝ่ายเหนือ
พระสุริโยไท ซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือแห่งราชวงศ์พระร่วง ได้อภิเษกสมรสกับพระเยาวราช จากราชวงศ์สุพรรณภูมิ คือพระเฑียรราชา โอรสขององค์อุปราชพระอาทิตยา วงศ์ กับพระสนม
เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ สิ้น พระชนม์ในปี พ.ศ. ๒๐๗๒ พระอาทิตยาวงศ์ ได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร เชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์เสด็จย้ายจากพิษณุโลกไปประทับ ณ กรุงศรีอยุธยาเมืองหลวง รวมถึงพระเฑียรราชา และพระสุริโยไทซึ่งมีพระโอรส พระธิดาทั้งสิ้น ๕ พระองค์ ประทับอยู่ ณ วังชัย ดำรงอิสริยยศเป็นพระเยาวราช
ครั้นสมเด็จพระบรมราชาหน่อ พุทธางกูร สิ้นพระชนม์ด้วยโรคไข้ทรพิษ พระรัฏฐาธิราชกุมารพระโอรส วัย ๕ พรรษา อันประสูติจากพระอัครชายาวัย ๑๗ พรรษา เป็นผู้ขึ้นครองราชย์แทนพระไชยราชาผู้ซึ่งดำรงพระยศเป็นพระอุปราช ระหว่างนั้นบ้านเมืองถูกบริหารโดยขุนนางทุจริตคือพระยายมราชบิดาของอัครชายา พระไชยราชาจึงให้สำเร็จโทษพระรัฏฐาธิราชตามราชประเพณีโบราณ และขึ้นครองราชย์แทน ออกรบปราบปรามหัวเมืองอยู่ตลอดจึงทรงแต่งตั้งพระเฑียรราชาขึ้น เป็นพระอุปราชว่าราชการแทนพระองค์ที่กรุง อโยธยา
ต่อมาพระมเหสีของพระไชยราชา คือท้าวศรีสุดาจันทร์ได้ลักลอบมีความสัมพันธ์กับขุนชินราช ผู้ดูแลหอพระ สมคบลอบวางยาพิษปลงพระชนม์พระไชยราชา พระยอดฟ้า โอรสพระไชยราชา จึงได้ขึ้นครองราชย์แทนขณะที่มีพระชนม์ ๑๐ พรรษา แต่ต่อมาก็ถูกท้าวศรีสุดาจันทร์ปลงพระชนม์อีกองค์หนึ่ง แล้วสถาปนา ขุนชินราชขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า ขุน วรวงศา
ระหว่างนั้นพระเฑียรราชาได้ทรงผนวชเพื่อเลี่ยงภัย ส่วนพระสุริโยไทครองพระองค์อยู่ในวัง โดยมีขุนพิเรนทรเทพ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเส่หานอกราชการ หลวงศรียศ คุ้มกันภัยให้ และต่อมาก็ได้ร่วมกันปลงพระชนม์ ขุนวรวงศา และท้าวศรีสุดาจันทร์ เสียบหัวประจานไว้ที่วัดแร้ง อัญเชิญพระเฑียรราชาให้ลาสิกขาบทขึ้นครองราชย์แทน ทรงพระนามว่าพระมหาจักรพรรดิ ครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๑๑๑
ในปี ๒๐๙๑ นี่เอง ที่ทางพม่านำโดยกษัตริย์นามว่า พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ได้รวบรวม กำลังแผ่ขยายอำนาจรุกรานไทย เดินทัพมายังอยุธยา เกิดเป็นสงครามยุทธหัตถี เหตุการณ์ ตรงนี้เองที่ได้กล่าวถึงพระสุริโยไทว่าทรงปลอมพระองค์เป็นชายเข้าสู้รบกับพม่าจนสิ้นพระชนม์บนคอช้าง
และตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็สันนิษฐานกันว่าในสงครามครานั้นพระองค์มิได้สิ้นพระชนม์เพียงพระองค์เดียว หากแต่มีพระราชบุตรีอีกพระองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ในครั้งนั้นด้วย
จากพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ แต่งขึ้นในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๓ ได้กล่าวถึงศึกระหว่างพระมหาจักรพรรดิกับ พระเจ้าหงสาวดี และการสูญเสียพระสุริโยไท ไว้ว่า
"เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้า เสด็จออกไปรับศึกหงสานั้น สมเด็จพระองค์มเหสี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราชบุตรี เสด็จทรงช้างออกไปโดยเสด็จด้วย และเมื่อได้รับศึกหงสานั้น ทัพหน้าแตกมาปะทัพหลวงเป็นโกลาหลใหญ่ และสมเด็จพระองค์มเหสีและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราชบุตรีนั้น ได้รบด้วยข้าศึกถึงสิ้นชนม์กับคอช้างนั้น"
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ได้บรรยายการต่อสู้ครั้งนั้นไว้โดยพิสดารว่า
         "สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าก็ขับพระคชาธารเข้าชนช้างกองหน้าพระเจ้าหงสาวดี พระคชาธารเสียทีให้หลังข้าศึกเอาไว้ไม่อยู่ พระเจ้าแปรได้ท้ายข้าศึกเช่นนั้นก็ขับพระคชาธารตามไล่ช้างพระมหาจักรพรรดิ พระสุริโยไทเห็นพระราชสามีเสียทีไม่พ้นมือข้าศึก ทรงพระกตัญญูภาพ ก็ขับพระคชาธารพลายทรงสุริยกษัตริย์สะอึกออกรับพระคชาธารพระเจ้าแปรได้ล่างแบกถนัด พระคชาธารพระสุริโยไทแหงนหงายเสียทีพระเจ้าแปรจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าวต้องพระอังสะพระสุริโยไทขาดกระทั่งถึงราวพระถันประเทศ พระราเมศวร กับพระมหินทราธิราช ก็ขับพระคชาธารถลันเข้าแก้พระราชมารดาได้ทันที พอพระชนนีสิ้นพระ ชนม์กับคอช้าง พระพี่น้องทั้งสองพระองค์ถอยรอรับข้าศึก กันพระศพสมเด็จพระราชมารดาเข้าพระนครได้ โยธาชาวพระนครแตกพ่ายข้าศึกรี้พลตายเป็นอันมาก
            สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าจึงให้เชิญพระศพพระสุริโยไท ผู้เป็นพระอัคร มเหสีมาไว้สวนหลวง" พระศพสมเด็จพระสุริโยไทได้รับการเชิญไปประดิษฐานไว้ที่สวนหลวงตรงที่สร้างวังหลัง ต่อมาเมื่อเสร็จสงครามสมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงได้ทำพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสุริโยไทที่ในสวนหลวงตรงต่อเขตวัดสบสวรรค์ แล้วสร้างพระอารามขึ้นทรงพระเมรุ มีพระเจดีย์ใหญ่ เรียกว่าวัดสวนหลวงสบสวรรค์ หรือบางแห่งเรียก วัดศพสวรรค์
            เรื่องต่อจากนั้นก็มีว่า ทัพพม่าไม่สามารถจะตีหักเอากรุงศรีอยุธยาได้เพราะฝ่ายไทยได้เปรียบในที่มั่น และหัวเมืองฝ่ายไทยยังมีกำลังมาก โดยเฉพาะทัพของพระมหาธรรมราชาซึ่งเสด็จไปครองพิษณุโลก ได้ยกมาช่วยตีกระหนาบ พระเจ้าหงสาวดีจึงโปรดให้เลิกทัพกลับไปทางเหนือ แต่จากเอกสารพม่าที่จดจากปากคำให้การเชลยไทยคราวเสียกรุงครั้งที่ ๒ ในชื่อว่า คำ ให้การชาวกรุงเก่าบันทึกความทรงจำหลังเหตุการณ์ประมาณ ๒๐๐ ปีเศษ เล่าว่าศึกครั้งนี้ พระมหาจักรพรรดิได้รับคำท้าทายที่จะประลองยุทธหัตถีกับกษัตริย์พม่า แต่เมื่อถึงวันนัด หมายกลับประชวร พระบรมดิลกพระราชธิดาพระองค์หนึ่งจึงรับอาสาฉลองพระองค์ปลอม เป็นชายขึ้นช้างทำยุทธหัตถีเสียทีถูกพระแสงของ้าวกษัตริย์พม่าสิ้นพระชนม์ นับเป็นหลักฐานแห่งการบันทึกประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว พระนามของพระนางที่ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่าง ๆ ซึ่งบันทึกหลังเหตุการณ์ประมาณ ๒๐๐ ปีเศษ กล่าวถึงเรื่องราวในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสวยราชสมบัติโดยมีพระนางอยู่ในตำแหน่งมเหสี พระราชพงศาวดารมากล่าวพระนามอีกครั้งเมื่อพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ยกทัพล้อมกรุงศรีอยุธยาหลังการเสวยราชสมบัติได้ ๗ เดือน โดยครั้งนั้นพระนางได้ป้องกันพระราชสวามีไม่ให้ได้รับอันตรายโดยไสช้างขวางกั้นพระราชสวามีจากแม่ทัพพม่า จนสิ้นพระชนม์บนคอช้าง
            นอกจากนี้ยังมีการบันทึกถึงรายละเอียดปลีกย่อยว่าสมเด็จพระสุริโยไททรงแต่งพระองค์เป็นชายอย่างพระมหาอุปราช ทรงเครื่องสำหรับราชณรงค์ เสด็จทรงช้าง "พลายทรงสุริยกษัตริย์" สูงหกศอกเป็นพระคชาธาร ซึ่งวิเคราะห์แล้วถือเป็นช้างที่สูงมากในขบวนช้างแม่ทัพฝ่ายไทย เพราะช้างทรงของพระมหาจักรพรรดิคือ พลายแก้วจักรพรรดิ สูงหกศอกคืบห้านิ้ว ช้างทรงพระราเมศวร คือพลายมงคลจักรพาฬ สูงห้าศอกคืบสิบนิ้ว และช้างทรงพระมหินทราธิราช คือพลายพิมานจักรพรรดิ สูงห้าศอกคืบแปดนิ้ว ส่วนช้างของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ คือช้างต้นพลายมงคลทวีปนั้นสูงถึงเจ็ดศอก และช้างของพระเจ้าแปรผู้ประหารพระนาง คือพลายเทวนาคพินายสูงหกศอกคืบเจ็ดนิ้ว สูงกว่าช้างทรงพระสุริโยไทคืบเจ็ดนิ้วเต็ม ร่องรอยแห่งอดีตกาลสั่งสมผ่านบันทึกประวัติศาสตร์ แม้นไม่อาจสัมผัสได้ด้วยสายตา แต่วีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของวีรสตรีผู้ทรงนาม "พระสุริโยไท" จะยังคงประจักษ์อยู่ในหัวใจ อนุชนรุ่นหลังมิรู้ลืมเลือน
 พระราชานุสาวรีย์สุริโยทัย
เป็นพระอนุสาวรีย์ประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระสุริโยทัย วีรสตรีไทยสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ที่บริเวณทุ่งมะขามหย่อง
ตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ประมาณ 250 ไร่
เจดีย์พระศรีสุริโยทัย
เจดีย์พระศรีสุริโยทัย อยู่ในเกาะเมืองด้านทิศตะวันตก อยู่ติดกับสำนักงานโบราณคดี
และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 3 ถนนอู่ทอง อ. พระนครศรีอยุธยา จ. อยุธยา

ประวัติบาสเกตบอล

 บาสเกตบอล ( Basketball ) เป็นกีฬาประจำชาติอเมริกัน ถูกคิดขึ้น เพื่อต้องการช่วยเหลือบรรดาสมาชิก Y.M.C.A.ได้เล่นกีฬาในฤดูหนาว เนื่องจากในช่วงฤดูหนาวสภาพพื้นภูมิประเทศโดยทั่วๆไป ถูกหิมะปกคลุมอันเป็นอุปสรรคในการเล่นกีฬากลางแจ้ง เช่น อเมริกันฟุตบอล เบสบอล คณะกรรมการสมาคม Y.M.C.A. ได้พยายามหาหนทางแก้ไขให้บรรดาสมาชิกทั้งหลายได้เล่นกีฬาในช่วงฤดูหนาวโดยไม่บังเกิดความเบื่อหน่าย
                ในปี ค.ศ.1891 Dr.James A.Naismith ครูสอนพลศึกษาของ The International Y.M.C.A. Training School อยู่ที่เมือง Springfield รัฐ Massachusetts ได้รับมอบหมายจาก Dr.Gulick ให้เป็นผู้คิดค้นการเล่นกีฬาในร่มที่เหมาะสมที่จะใช้เล่นในช่วงฤดูหนาว Dr.James ได้พยายามคิดค้นดัดแปลงการเล่นกีฬาอเมริกันฟุตบอลและเบสบอลเข้าด้วยกันและให้มีการเล่นที่เป็นทีมในครั้งแรก Dr.James ได้ใช้ลูกฟุตบอลและตะกร้าเป็นอุปกรณ์สำหรับให้นักกีฬาเล่น เขาได้นำตะกร้าลูกพีชไปแขวนไว้ที่ฝาผนังของห้องพลศึกษา แล้วให้ผู้เล่นพยายามโยนลูกบอลลงในตะกร้านั้นให้ได้ โดยใช้เนื้อที่สนามสำหรับเล่นให้มีขนาดเล็กลงแบ่งผู้เล่นออกเป็นข้างละ คน ผลการทดลองครั้งแรกผู้เล่นได้รับความสนุกสนานตื่นเต้น แต่ขาดความเป็นระเบียบ มีการชนกัน ผลักกัน เตะกัน อันเป็นการเล่นที่รุนแรงในการทดลองนั้น ต่อมา Dr.James ได้ตัดการเล่นที่รุนแรงออกไป และได้ทำการวางกติกาห้ามผู้เล่นเข้าปะทะถูกเนื้อต้องตัวกัน นับได้ว่าเป็นหลักเบื้องต้นของการเล่นบาสเกตบอล Dr.James จึงได้วางกติกาการเล่นบาสเกตบอลไว้เป็นหลักใหญ่ๆ ข้อ ด้วยกัน คือ
1. ผู้เล่นที่ครอบครองลูกบอลอยู่นั้นจะต้องหยุดอยู่กับที่ห้ามเคลื่อนที่ไปไหน
2. ประตูจะต้องอยู่เหนือศีรษะของผู้เล่น และอยู่ขนานกับพื้น
3. ผู้เล่นสามารถครอบครองบอลไว้นานเท่าใดก็ได้ โดยคู่ต่อสู้ไม่อาจเข้าไปถูกต้องตัวผู้เล่นที่    
     ครอบครองบอลได้
4. ห้ามการเล่นที่รุนแรงต่างๆโดยเด็ดขาด ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะต้องไม่กระทบกระแทกกัน
                เมื่อได้วางกติกาการเล่นขึ้นมาแล้วก็ได้นำไปทดลอง และพยายามปรับปรุงแก้กไขระเบียบดีขึ้น เขาได้พยายามลดจำนวนผู้เล่นลงเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกัน จนในที่สุดก็ได้กำหนดตัวผู้เล่นไว้ฝ่ายละ คน ซึ่งเป็นจำนวนที่เหมาะสมที่สุดกับขนาดเนื้อที่สนาม Dr.James ได้ทดลองการเล่นหลายครั้งหลายหน และพัฒนาการเล่นเรื่อยมา จนกระทั่งเขาได้เขียนกติกาการเล่นไว้เป็นจำนวน 13 ข้อ ด้วยกัน และเป็นต้นฉบับการเล่นที่ยังคงปรากฏอยู่บนกระดานเกียรติยศในโรงเรียนพลศึกษา ณ Springfield อยู่จนกระทั่งทุกวันนี้
    กติกา 13 ข้อ ของ Dr.James มีดังนี้
1. ผู้เล่นห้ามถือลูกบอลแล้ววิ่ง
2. ผู้เล่นจะส่งบอลไปทิศทางใดก็ได้ โดยใช้มือเดียวหรือสองมือก็ได้
3. ผู้เล่นจะเลี้ยงบอลไปทิศทางใดก็ได้ โดยใช้มือเดียวหรือสองมือก็ได้
4. ผู้เล่นต้องใช้มือทั้งสองเข้าครอบครองบอล ห้ามใช้ร่างกายช่วยในการครอบครองบอล
5. ในการเล่นจะใช้ไหล่กระแทก หรือใช้มือดึง ผลัก ตี หรือทำการใดๆให้ฝ่ายตรงข้ามล้มลง
    ไม่ได้ ถ้าผู้เล่นฝ่าฝืนถือเป็นการฟาวล์ ครั้ง ถ้า ฟาวล์ ครั้ง หมดสิทธิ์เล่น จนกว่าฝ่ายหนึ่ง
    ฝ่ายใดทำประตูกันได้จึงจะกลับมาเล่นได้อีก ถ้าเกิดการบาดเจ็บระหว่างการแข่งขัน จะไม่มี
    การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
6. ห้ามใช้ขาหรือเท้าแตะลูก ถือเป็นการฟาวล์ ครั้ง
7. ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำฟาวล์ติดต่อกัน ครั้ง ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ประตู
8. ประตูที่ทำได้หรือนับว่าได้ประตูนั้น ต้องเป็นการโยนบอลให้ลงตะกร้า ฝ่ายป้องกันจะไปยุ่ง
    เกี่ยวกับประตูไม่ได้เด็ดขาด
9.  เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำลูกบอลออกนอกสนาม ให้อีกฝ่ายหนึ่งส่งลูกเข้ามาจากขอบสนาม
     ภายใน วินาที ถ้าเกิน วินาที ให้เปลี่ยนส่ง และถ้าผู้เล่นฝ่ายใดพยายามถ่วงเวลาอยู่เสมอให้
      ปรับเป็นฟาวล์
10. ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินว่าผู้เล่นคนใดฟาวล์ และลงโทษให้ผู้เล่นหมดสิทธิ์
11. ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินว่าลูกใดออกนอกสนาม และฝ่ายใดเป็นฝ่ายส่งลูกเข้าเล่น และจะทำ 
      หน้าที่เป็นผู้รักษาเวลาบันทึกจำนวนประตูที่ทำได้ และทำหน้าที่ทั่วไปตามวิสัยของผู้ตัดสิน
12. การเล่นแบ่งออกเป็น ครึ่งๆละ 20 นาที
13. ฝ่ายที่ทำประตูได้มากที่สุดเป็นผู้ชนะ ในกรณีคะแนนเท่ากันให้ต่อเวลาออกไป และถ้าฝ่ายใด      ทำประตูได้ก่อนถือว่าเป็นฝ่ายชนะ
                แม้ว่ากติกาการเล่นจะกำหนดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้เล่นเพื่อความสนุกสนานในแง่นันทนาการ แต่กีฬานี้ก็ได้รับความนิยมจากเยาวชนอย่างรวดเร็ว ทั้งๆที่มีผู้คนเป็นจำนวนมากเห็นว่าเป็นกีฬาสำหรับผู้อ่อนแอ และพยายามที่จะพิสูจน์ความเห็นนี้ด้วยการหาเรื่องทะเลาะวิวาทกับผู้เล่นบาสเกตบอลก็ตาม อย่างไรก็ดี ความรู้สึกเช่นนี้ค่อยๆเริ่มจางหายไปเมื่อความรวดเร็วและความแม่นยำในการเล่นบาสเกตบอล ได้สร้างความประทับใจและดึงดูดความสนใจของผู้คนเพิ่มมากขึ้น และได้แพร่กระจายไปทางตะวันออกของอเมริกาอย่างรวดเร็วและเมื่อโรงเรียนต่างๆได้ตระหนักถึงความสำคัญของกีฬาชนิดนี้ จึงพากันนิยมเล่นไปทั่วประเทศ
                ก่อนปี ค.ศ. 1915 แม้ว่าบาสเกตบอลจะเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางเป็นอย่างมากก็ตาม แต่ก็จำกัดเป็นเพียงการเล่นเพื่อออกกำลังกายในห้องพลศึกษาเท่านั้น ไม่มีองค์กรใดรับผิดชอบจัดการเล่นเป็นกิจลักษณะ ยกเว้นองค์กรบาสเกตบอลอาชีพที่เกิดขึ้นเพียง 2-3 องค์กรแล้วก็เลิกล้มไป ฉะนั้นการเล่นบาสเกตบอลในแต่ละที่แต่ละแห่งจึงต่างก็ใช้กติกาผิดแผกแตกต่างกันออกไป ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนากีฬาบาสเกตบอลเป็นอย่างมาก
                ดังนั้นในปี ค.ศ. 1915 สมาคม Y.M.C.A. สมาคมกีฬามหาวิทยาลัยแห่งชาติและสมาพันธ์กีฬาสมัครเล่น ได้ร่วมประชุมเพื่อร่างกติกาการเล่นบาสเกตบอลขึ้นมาเพื่อเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน กติกานี้ไดใช้สืบมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1938และได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 11 ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี โดยคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติเป็นผู้พิจารณาสหรัฐอเมริกายอมรับการเล่นบาสเกตบอลเป็นกีฬาประจำชาติเมื่อวันที่ 20มกราคม ค.ศ. 1892 ซึ่งได้มีการเล่นบาสเกตบอลอย่างเป็นทางการขึ้นเป็นครั้งแรก สมาคม Y.M.C.A. ได้นำกีฬาบาสเกตบอลไปเผยแพร่ในทุกส่วนของโลก ได้แพร่เข้าไปในประเทศจีนและอินเดียในราวปี ค.ศ. 1894, ฝรั่งเศส ในราวปี ค.ศ. 1895, ญี่ปุ่นราวปี ค.ศ. 1900 เกือบจะกล่าวได้ว่า บาสเกตบอลมีการเล่นในทุกประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ และคาดว่าก่อนปี ค.ศ. 1941 มีประชาชนทั่วโลกเล่นกีฬาบาสเกตบอลเป็นจำนวนถึง 20 ล้านคน ในขณะนี้มีผู้นิยมเล่นบาสเกตบอลกันทั่วทุกมุมโลก ไม่น้อยกว่า 52 ประเทศ นอกจากนี้ได้มีการแปลกติกาการเล่นเป็นภาษาต่างๆมากกว่า30 ภาษา
ประวัติบาสเกตบอลในประเทศไทย
                กีฬาบาสเกตบอลแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในสมัยใด ปีใดนั้น มิได้มีหลักฐานที่จะปรากฏยืนยันแน่ชัดได้ ทราบแต่เพียงว่า ในปี พ.ศ.2477 นายนพคุณ พงษ์สุวรรณ อาจารย์สอนภาษาจีนที่โรงเรียนมัธยมวัดบพิตรพิมุข ได้ช่วยเหลือกรมพลศึกษาจัดแปลกติกาการเล่นบาสเกตบอลขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2478 กระทรวงธรรมการ ได้จัดการอบรมครูจังหวัดต่างๆจำนวน 100 คน ภายในระยะเวลา เดือน และได้รับความช่วยเหลือจาก พ.ต.อ. หลวงชาติตระการโกศล ผู้ซึ่งมีความรู้และเชี่ยวชาญทางการเล่นกีฬาบาสเกตบอลคนหนึ่ง ทั้งได้>เคยเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมการแข่งขัน เมื่อครั้งท่านกำลังศึกษาอยู่ในสหรัฐอเมริกา มาเป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีเล่นบาสเกตบอลแก่บรรดาครูที่เข้ารับการอบรม ต่อมาก็เป็นผลทำให้กีฬาบาสเกตบอลแพร่หลายไปทั่วประเทศไทย
                ในปี พ.ศ. 2496 สมาคมบาสเกตบอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้ถูกจัดตั้งขึ้นตามแบบอันถูกต้อง โดยจดทะเบียนที่สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ และได้กลายมาเป็นสมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศไทยในปีเดียวกันนั้นเอง และในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 สมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศไทยก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมบาสเกตบอลระหว่างประเทศ
แนะนำอุปกรณ์บาสเกตบอล
สนาม - ขนาด
                สนามที่ใช้เล่นบาสเกตบอลจะต้องเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นเรียบแข็งปราศจากสิ่งกีดขวางใด ๆ ซึ่งสนามที่ใช้แข่งขันโอลิมปิกและชิงแชมเปี้ยนโลกจะต้องมีขนาด ยาว 28 เมตร และกว้าง 15 เมตร โดยวัดจากขอบในของเส้นเขตสนาม สำหรับการแข่งขันระดับอื่นๆ ในองค์กรภายใต้การควบคุมของฟีบ้า (FIBA) เช่น คณะกรรมการบริหารของโซน (Zone) ในกรณีการแข่งขัน ระดับโซน และระดับทวีปหรือสมาคมกีฬาบาสเกตบอลของชาตินั้นๆ ในกรณีการแข่งขันภายในประเทศ จะมีอำนาจในการรับรองสนามแข่งขันซึ่งมีขนาดตามกำหนดดังต่อไปนี้คือ ความยาวลดลงกว่ามาตรฐานได้ไม่เกิน เมตร และความกว้างลดลงกว่ามาตรฐานได้ไม่เกิน เมตร ทั้งนี้อัตราส่วนของการลดขนาดของสนามต้องเป็นสัดส่วนต่อกัน สนามที่จะสร้างขึ้นใหม่ต้องมีขนาดตามที่กำหนด เพื่อใช้แข่งขันระดับสำคัญๆ ของฟีบ้า คือ ขนาด 28 x 15เมตร สำหรับเพดานนั้นให้มีความสูงอย่างน้อย เมตร และพื้นสนามควรได้รับแสงสว่างเพียงพอและทั่วถึงกัน ทั้งนี้ควรติดตั้งโคมไฟโดยมิให้ปิดบังสายตาของผู้เล่นขนาดและพื้นของสนามต้องตรงกับเกณฑ์ที่ระบุไว้ เพื่อใช้แข่งขันระดับสำคัญๆ ของฟีบ้า
 
เส้นขอบสนาม
                สนามแข่งขันต้องมีเส้นขอบสนามอย่างชัดเจน โดยทุกจุดต้องมีระยะห่างจากคนดู ป้ายโฆษณา หรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ อย่างน้อย เมตร เส้นขอบสนามทางด้านยาวมีชื่อเรียกว่า เส้นข้าง และเส้นขอบสนามทางด้านสั้นมีชื่อเรียกว่า เส้นหลัง เส้นต่างๆ ที่กล่าวในข้อนี้ และในข้ออื่นๆ จะต้องเห็นได้อย่างชัดเจน และมีขนาดกว้าง เซนติเมตร

วงกลมกลาง
วงกลมกลางต้องมีรัศมี 1.80 เมตร และอยู่ที่กลางสนาม ให้วัดรัศมีจากขอบนอกของเส้นรอบวง

เส้นกลาง แดนหน้า และแดนหลัง
                เส้นกลางต้องลากให้ขนานกับเส้นหลังจากจุดกึ่งกลางของเส้นข้าง และต้องยื่นเลยเส้นข้างออกไปอีกข้างละ 15เซนติเมตร แดนหน้าของทีม คือส่วนของสนามระหว่างเส้นหลังที่อยู่ด้านหลังของห่วงประตูของคู่แข่งขันกับขอบด้านใกล้ของเส้น กลาง สำหรับส่วนที่เหลือของสนามรวมทั้งเส้นกลางคือ แดนหลังของทีม  

เขตยิงประตูเพื่อทำ คะแนน
                เขตยิงประตูเพื่อทำ คะแนน คือส่วนของพื้นสนามที่มีเส้นแสดงเป็นเส้นโค้ง แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งจะเป็นเส้นครึ่งวงกลม ขนาดรัศมี 6.25 เมตร โดยวัดจากขอบนอกของเส้นครึ่งวงกลม ทั้งนี้จะมีศูนย์กลางอยู่ที่จุดของเส้นดิ่งที่ลากผ่านจุดศูนย์กลางของ ห่วงประตูลงจดถึงพื้นสนาม และลากเส้นที่ต่อจากปลายเส้นครึ่งวงกลมให้ขนานกับเส้นข้างบรรจบกับเส้นหลัง ระยะห่างระหว่างจุด กึ่งกลางของเส้นหลังวัดจากขอบในไปยังจุดศูนย์กลางของครึ่งวงกลมคือ 1.575 เมตร
 
เขต วินาที (เขตกำหนดเวลา) เขตโยนโทษ และเส้นโยนโทษ
                เขต วินาที คือพื้นที่ในสนามที่มีเขตตั้งแต่เส้นหลัง เส้นโยนโทษ และเส้นที่ลากจากเส้นโยนโทษไปบรรจบกับเส้นหลังจากจุดกึ่งกลางของเส้นหลังไปสิ้นสุดที่ขอบนอกของเส้นแนวยืนการโยนโทษ ระยะห่าง เมตร

                เขตโยนโทษ คือพื้นที่กำหนดที่ต่อจากเขต วินาที เข้าไปในสนามโดยทำครึ่งวงกลมรัศมี 1.80 เมตร และมีจุดศูนย์กลางที่กึ่งกลางของเส้นโยนโทษ ให้ทำครึ่งวงกลมขนาดเดียวกัน แต่ตีเส้นปะเข้าไปในเขต วินาทีด้วย

                ช่องยืนตามแนวการโยนโทษ เป็นช่องที่ผู้เล่นยืนขณะมีการโยนโทษ ซึ่งมีลักษณะดังนี้ คือ
เส้นแรกของช่องที่จะต้องอยู่ห่างจากขอบในของเส้นหลัง 1.75 เมตร วัดตามแนวของเส้นแนวยืนโยนโทษ พื้นที่ของช่องแรกจะมีเส้นกำหนดห่างจากเส้นแรก 85 เซนติเมตร ส่วนช่องที่สองจะอยู่ถัดจากเขตปลอดผู้เล่น (Neutral Zone) ซึ่งมีขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ส่วนช่องที่สองจะอยู่ถัดจากเขตปลอดผู้เล่น และมีขนาดกว้าง 85 เซนติเมตร ถัดจากเส้นกำหนดช่องที่สองจะเป็นช่องที่สามซึ่งมีขนาด 85 เซนติเมตรเช่นเดียวกัน เส้นที่แสดงช่องต่างๆ เหล่านี้มีความยาว 10 เซนติเมตร และกว้าง เซนติเมตรตั้งฉากกับเส้นแนวยืนการโยนโทษ และให้ลากจากขอบนอกของพื้นที่เขตกำหนดเวลา

                เส้นโยนโทษ จะต้องลากให้ขนานกับเส้นหลัง โดยมีขอบนอกห่างจากขอบในของเส้นหลัง 5.80 เมตร และยาว3.60 เมตรจุดกึ่งกลางของเส้นโยนโทษต้องอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันกับจุดกึ่งกลางของเส้นหลังทั้งสองเส้น

                พื้นที่นั่งของทีม พื้นที่นั่งของทีม กำหนด ณ พื้นที่นอกเขตสนามทางด้านเดียวกันกับโต๊ะเจ้าหน้าที่ พื้นที่กำหนดคือเส้นตรงยาว เมตร ที่ลากต่อจากเส้นหลัง และเส้นตรงยาว เมตร ลากจากจุดที่ห่างจากเส้นกลาง เมตร ให้ตั้งฉากกับเส้นข้าง เส้นตรง เมตรจะต้องมีสีแตกต่างจากสีของเส้นข้างและเส้นหลัง

                กระดานหลัง (แป้น) ขนาด วัสดุ และตำแหน่งที่ติดตั้ง กระดานหลังจะต้องทำจากไม้เนื้อแข็งหนา เซนติเมตร หรือเป็นวัสดุโปร่งใสที่เหมาะสม (แผ่นเดียวและมีความหนาแน่นเช่นเดียวกับไม้เนื้อแข็ง) การแข่งขันระดับโอลิมปิกและชิงแชมเปี้ยนโลก กระดานหลังจะต้องมีขนาดความยาว 1.80 เมตร กว้าง 1.05 เมตรและขอบล่างสูงจากพื้นสนาม 2.90เมตร สำหรับการแข่งขันระดับอื่นๆ ให้องค์กรภายใต้การควบคุมของฟีบ้า เช่น คณะกรรมการบริหารของโซนในกรณีการแข่งขันของโซนหรือทวีป หรือสมาคมกีฬาบาสเกตบอลของชาตินั้นๆ สำหรับการแข่งขันของโซนหรือทวีป หรือสมาคมกีฬาบาสเกตบอลของชาตินั้นๆ สำหรับการแข่งขันภายในประเทศ จะมีอำนาจในการรับรองขนาดของกระดานหลัง ซึ่งจะเป็นขนาดยาว 1.80 เมตร กว้าง 1.20 เมตร ขอบล่างสูงจากพื้นสนาม 2.75 เมตร หรือขนาดยาว 1.80 เมตร กว้าง 1.05 เมตร และมีขอบล่างสูงจากพื้นสนาม 2.90 เมตรก็ได้ ส่วนกระดานหลังที่ติดตั้งใหม่ทั้งหมด จะต้องมีขนาดเท่ากับที่ระบุไว้สำหรับการแข่งขันระดับโอลิมปิก และชิงแชมเปี้ยนโลก คือขนาด 1.80 x 1.05 เมตร พื้นด้านหน้าของกระดานหลังต้องเรียบและมีสีขาว ยกเว้นกระดานหลังที่เป็นแบบโปร่งใส ให้มีเครื่องหมายต่อไปนี้ที่พื้นด้านหน้าของกระดานหลังคือ ทำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหลังห่วง โดยมีเส้นขอบหนา เซนติเมตร มีขนาดยาวตามแนวนอน 59 เซนติเมตร และกว้าง 45เซนติเมตร ทั้งนี้ให้ขอบบนเส้นล่างของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ในระดับเดียวกันกับห่วง และขอบของกระดานหลังจะต้องตีกรอบด้วยเส้นหนา เซนติเมตร ถ้าเป็นแบบโปร่งใสให้ใช้สีขาวทำกรอบ นอกจากนั้นให้ใช้สีดำทำกรอบ ทั้งขอบของกระดานหลัง และสี่เหลี่ยมผืนผ้าภายในกระดานหลังจะต้องมีสีเดียวกัน กระดานหลังจะต้องติดตั้งอย่างมั่นคงที่ด้านเส้นหลังของสนามแต่ละข้าง และยื่นเข้าไปในสนามให้ตั้งฉากกับพื้นสนาม และขนานกับเส้นหลัง จุดศูนย์กลางของกระดานหลังห่างจากจุดกึ่งกลางของเส้นหลังวัดจากขอบใน 1.20 เมตร ส่วนเสาที่ยึดกระดานหลังจะต้องห่างจากขอบนอกของเส้นหลังอย่างน้อย เมตร และทาสีสดใสตัดกับสีด้านหลัง เพื่อให้ผู้เล่นมองเห็นได้อย่างชัดเจน ขอบล่างของกระดานหลังให้บุขอบล่างของกระดานหลัง และขอบด้านข้างสูงขึ้นไปอย่างน้อย 35 เซนติเมตร พื้นที่ด้านหน้าและด้านหลังของกระดานหลังจะต้องถูกบุอย่างน้อย เซนติเมตรต่อจากขอบล่าง ทั้งนี้วัสดุที่ใช้บุจะต้องหนาไม่ต่ำกว่า เซนติเมตร ส่วนขอบล่างของกระดานหลังจะต้องบุด้วยวัสดุที่หนาไม่ต่ำกว่า เซนติเมตร อุปกรณ์ที่ใช้ยึดกระดานหลังซึ่งอยู่ด้านหลัง และสูงจากพื้นสนามไม่ถึง 2.75 เมตร จะต้องบุพื้นผิวของอุปกรณ์นั้นๆ เป็นระยะทาง 60 เซนติเมตร วัดจากด้านหน้าของกระดานหลังออกไป สำหรับกระดานหลังที่โยกย้ายเคลื่อนที่ได้ซึ่งมีฐานรองรับ จะต้องบุพื้นผิวด้านเขตสนามขึ้นสูง 2.15 เมตร
 
 
ห่วงประตู
                ห่วงต้องเป็นเหล็กตัน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากขอบในของห่วง 45 เซนติเมตร ทาด้วยสีส้ม เหล็กที่ทำห่วงต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 1.70 เซนติเมตร และขนาดใหญ่ที่สุด เซนติเมตร โดยมีตะขอเล็ก ๆ เกี่ยวอยู่ข้างล่าง หรืออุปกรณ์อื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเพื่อใช้ยึดเกี่ยวตาข่าย ห่วงต้องติดแน่นกับกระดานหลัง และอยู่ในแนวขนานกับพื้นสนาม สูงจากพื้นสนาม สูงจากพื้นสนาม 3.05 เมตร ทั้งนี้ต้องอยู่กึ่งกลางด้านตั้งของกระดานหลัง ขอบห่วงด้านที่ใกล้กับกระดานหลังจะห่างจากพื้นด้านหน้าของกระดานหลัง 15 เซนติเมตร ตาข่ายต้องเป็นเส้นด้ายสีขาวผูกติดกับห่วง และมีลักษณะช่วยต้านลูกบอลเล็กน้อย เพื่อให้เป็นที่สังเกตขณะที่ลูกบอลผ่านลงไปในห่วงประตู ตาข่ายมีความยาว 40เซนติเมตร ห่วงที่ยุบตัวได้ (เพราะแรงอัดแบบไฮดรอลิก) จะต้องตรงกับเกณฑ์กำหนดต่อไปนี้
1. จะต้องมีลักษณะการคืนตัวเหมือนกับห่วงปกติที่ไม่ยุบตัว อุปกรณ์กลไกที่ทำให้เกิดการยุบตัว
    ต้องแน่นอนที่จะควบคุมการคืนตัวดังกล่าว พร้อมกับช่วยป้องกันห่วงและกระดานหลัง การ
     ออกแบบห่วงและการสร้างห่วงควรจะประกันความปลอดภัยของผู้เล่นได้
2. ห่วงที่มีกลไกเฉพาะสำหรับล็อคกลไกของการยุบตัว จะต้องไม่ทำงานจนกว่าจะมีน้ำหนักถึง
     105 กิโลกรัม ณ ปลายสุดด้านบนของห่วง
3. เมื่อยุบตัว การหย่อนของห่วงต้องไม่เกินกว่า 30 องศา จากตำแหน่งแนวระดับเดิม
4. หลังจากการยุบตัวและไม่มีน้ำหนักถ่วงอยู่ต่อไปแล้ว ห่วงจะต้องคืนตัวสู่ตำแหน่งเดิมโดย
    อัตโนมัติทันที
 
ลูกบอล วัสดุ ขนาด และน้ำหนัก
                ลูกบอลต้องเป็นทรงกลม และมีสีส้มตามที่ได้รับรองแล้ว โดยมีเปลือกนอกทำด้วยหนัง ยาง หรือวัสดุสังเคราะห์ ทั้งนี้จะมีเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 74.9 เซนติเมตร และไม่เกิน 78 เซนติเมตร หนักไม่น้อยกว่า 567 กรัม และไม่เกิน 650กรัม จะต้องสูบลมให้แข็งโดยประมาณว่าเมื่อปล่อยลูกบอลจากที่สูงประมาณ 1.80 เมตรลงสู่พื้นไม้แข็งหรือพื้นสนามแข่งขัน ลูกบอลจะกระดอนขึ้นไม่ต่ำกว่า 1.20 เมตร หรือสูงไม่เกิน 1.40 เมตร เมื่อวัดจากส่วนบนของลูกบอล ตะเข็บและ /หรือร่องของรอยต่อลูกบอลจะต้องไม่เกิน 0.635 เซนติเมตร ทีมเหย้าต้องจัดหาลูกบอลตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างน้อย 1ลูก สำหรับแข่งขัน ทั้งนี้ผู้ตัดสินที่หนึ่งมีอำนาจเพียงผู้เดียว ที่จะตัดสินว่าลูกบอลใดเข้าเกณฑ์ของกติกา และอาจเลือกเอาลูกบอลที่ทีมเยือนจัดหามาใช้แข่งขันก็ได้
 
อุปกรณ์ทางเทคนิค
                อุปกรณ์ทางเทคนิคต่อไปนี้เป็นหน้าที่ของทีมเหย้าจะต้องจัดเตรียมไว้ และมีพร้อมไว้ให้ผู้ตัดสินและผู้ช่วงผู้ตัดสิน คือ
1. นาฬิกาจับเวลาการแข่งขัน และนาฬิกาจับเวลานอก ผู้จับเวลาต้องมีนาฬิกาจับเวลาการแข่งขัน
     และนาฬิกาจับเวลาธรรมดา เพราะนาฬิกาจับเวลาการแข่งขันมีไว้สำหรับจับเวลานอก
     นาฬิกาทั้งสองเรือนนี้จะต้องจัดตั้งไว้ให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนโดยผู้จับเวลาและผู้บันทึก
2. นาฬิกาจับเวลา 30 วินาที เป็นอุปกรณ์จำเป็นที่จะต้องติดตั้งให้สามารถมองเห็นได้ทั้งผู้เล่น
     และผู้ชม และดำเนินการควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ที่จับเวลา 30 วินาที
3. ใบบันทึก จะต้องเป็นแบบที่กำหนดโดยสหพันธ์บาสเกตบอลสมัครเล่นนานาชาติ และต้องให้
     ผู้บันทึกเป็นผู้ดำเนินการกรอกข้อความก่อนการแข่งขัน และระหว่างที่การแข่งขันตามที่ระบุ
     ไว้ในกติกา
4. อย่างน้อยจะต้องมีอุปกรณ์เพื่อแสดงสัญญาณ ชนิด ที่ระบุไว้ในกติกา นอกจากนั้นยังจะต้อง
    มีป้ายบอกคะแนนที่สามารถมองเห็นโดยผู้เล่น ผู้ชมและเจ้าหน้าที่โต๊ะ
5. ป้ายแจ้งหมายเลขตั้งแต่ ถึง ต้องจัดให้ผู้บันทึกทุกครั้งที่ผู้เล่นกระทำฟาวล์ ผู้บันทึกต้องยก
     ป้ายนี้แสดงจำนวนฟาวล์ของผู้เล่นคนนั้นให้สามารถมองเห็นได้โดยโค้ชทั้งสองทีม ป้ายนี้ให้
     มีพื้นสีขาว และเขียนหมายเลข ถึง ด้วยสีดำ ส่วนหมายเลข เขียนด้วยสีแดง โดยมีขนาด
     ของป้ายอย่างน้อย 20 x 10 เซนติเมตร
6. ต้องจัดเครื่องหมายแสดงจำนวนการฟาวล์ของทีมให้แก่ผู้บันทึก ซึ่งเครื่องหมายนี้จะเป็นสี
    แดง จัดตั้งไว้บนโต๊ะเจ้าหน้าที่เพื่อให้มองเห็นได้ง่ายโดยผู้เล่น โค้ช และผู้ตัดสิน ทันทีที่ลูก
    บอลเข้าสู่การเล่นภายหลังการฟาวล์ของผู้เล่นครั้งที่ ของทีมนั้นๆ ให้แสดงเครื่องหมายนี้บน
     โต๊ะเจ้าหน้าที่ทางด้านที่นั่งของทีมที่กระทำฟาวล์ของผู้เล่นครั้งที่ 7
7. เครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อแสดงจำนวนฟาวล์ของทีม สถานที่ และอุปกรณ์ที่ระบุไว้เพื่อการ
     แข่งขันระดับนานาชาติต่อไปนี้จะ ต้องได้รับการอนุมัติจากฟีบ้า คือ โอลิมปิก ชิงแชมเปี้ยน
    โลก สำหรับประเภทชาย ประเภทหญิง เยาวชนชาย เยาวชนหญิง และสำหรับประเภทชายอายุ
    ไม่เกิน 22 ปี
1. ที่นั่งสำหรับผู้ชมในสนามแข่งขัน จะต้องมีที่นั่งไม่น้อยกว่า 6,000 ที่นั่ง สำหรับระดับชิงแชม
     เปี้ยนโลก เยาวชนชาย เยาวชนหญิง และสำหรับประเภทชายอายุไม่เกิน 22 ปี และต้องมีที่นั่ง
    ไม่น้อยกว่า 12,500 ที่นั่งสำหรับระดับโอลิมปิก และชิงแชมเปี้ยนโลก สำหรับประเภทชาย
     และหญิง
2. พื้นสนามที่ใช้แข่งขันต้องทำด้วยไม้หรือวัสดุอื่นซึ่งมีคุณลักษณะเหมือนไม้ และได้รับความ
     เห็นชอบโดย ฟีบ้า สนามแข่งขันต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าราบเรียบ มีพื้นแข็ง ขนาดยาว 28
     เมตร และกว้าง 15 เมตร เมื่อสนามแข่งขันออกแบบโดยไม่ตีเส้นขอบสนาม ซึ่งมีความหนา  
     เซนติเมตรไว้ แต่ใช้สีซึ่งตัดกันเป็นสิ่งกำหนดพื้นที่ของเขตสนาม และพื้นที่นอกเขตสนาม
     แล้ว ให้ถือว่าเส้นที่แบ่งสีที่ตัดกันนั้นเป็นขอบในของเส้นสนาม
3. จะต้องมีกระดานหลังเป็นวัสดุโปร่งใส ทำด้วยวัสดุที่มีความหนาแน่นเหมือนไม้ที่มีความหนา
    3 เซนติเมตร มีขนาดยาวตามแนวนอน 1.80 เมตร และกว้างตามแนวตั้ง 1.05 เมตร ทั้งนี้ขอบ
    ล่างของกระดานหลังจะต้องสูงจากพื้นสนาม 2.90 เมตร
4. อุปกรณ์ที่ใช้ยึดกระดานหลัง จะต้องตั้งอยู่นอกเขตสนามห่างจากขอบนอกของเส้นหลังอย่าง
    น้อย เมตรและต้องมีสีสดใสตัดกับสีด้านหลัง เพื่อให้ผู้เล่นมองเห็นได้อย่างชัดเจน
5. ลูกบอลต้องทำด้วยหนังและได้รับอนุมัติจากฟีบ้า ฝ่ายจัดการแข่งขันจะต้องจัดหาลูกบอลอย่าง
    น้อย 12 ลูก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เดียวกัน เพื่อการใช้ฝึกซ้อม และอบอุ่นร่างกายก่อนเริ่มการ
     แข่งขัน แสงสว่างที่ใช้กับสนามแข่งขันจะต้องไม่ต่ำกว่า 1,500 ลักซ์ (Lux) ซึ่งวัดความสว่าง
     ระดับความสูง เมตร เหนือพื้นสนาม แสงสว่างดังกล่าวต้องตรงกับเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อ
      ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ด้วย
6. สนามแข่งขันจะต้องติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่อไปนี้ ซึ่งจะต้องให้เห็นเด่นชัดจากโต๊ะ
    เจ้าหน้าที่ สนามแข่งขัน และที่นั่งของทีม คือ
                6.1 ป้ายแสดงคะแนนขนาดใหญ่สองป้าย แต่ละป้ายติดนาฬิกาชนิดตัวเลขที่นับถอยหลังซึ่งมองเห็นได้เด่นชัด พร้อมกับมีอุปกรณ์ที่ให้สัญญาณเสียงอัตโนมัติที่ดังมากๆ เพื่อบอกการสิ้นสุดเวลาการแข่งขันในแต่ละครึ่งเวลา และเวลาเพิ่มพิเศษ นาฬิกาจะต้องออกแบบอย่างสมบูรณ์และแสดงเวลาที่เหลือตลอดการแข่งขัน และอย่างน้อยที่สุดในช่วง 60 วินาที นาทีสุดท้ายของแต่ละครึ่ง และเวลาเพิ่มพิเศษ จะต้องแสดงเวลาทุก 1/10 วินาที ผู้ตัดสินที่หนึ่งจะเป็นผู้กำหนดให้นาฬิกาเรือนหนึ่งเป็นนาฬิกาจับเวลาของการแข่งขัน ป้ายแสดงคะแนนจะต้องบอกคะแนนที่แต่ละทีมทำได้ พร้อมกับบอกจำนวนฟาวล์ของผู้เล่นในแต่ละทีม ขบวนการดังกล่าวมิได้หมายความว่าให้ติดป้ายแสดงการฟาวล์ที่เจ้าหน้าที่บันทึกใช้แจ้งจำนวนฟาวล์
                6.2 อุปกรณ์อัตโนมัติที่ใช้จับเวลา 30 วินาที ชนิดตัวเลขนับถอยหลังแสดงเวลาเป็นวินาที จะต้องมีอุปกรณ์ดังกล่าว ชุด ถ้าติดตั้งตรงแนวส่วนบนของกระดานหลัง หรือมี ชุด ถ้าติดตั้งด้วยความเหมาะสมตามมุมของสนามแข่งขัน อุปกรณ์ 30 วินาทีจะต้องพ่วงเข้ากับนาฬิกาที่จับเวลาการแข่งขัน ทั้งนี้เมื่อเวลาหมดลงเป็น " ศูนย์ " จะมีสัญญาณดังขึ้น ก็จะทำให้หยุดเวลาการแข่งขันโดยอัตโนมัติด้วย
                6.3 อุปกรณ์ที่มีแสงสว่างเพื่อบอกจำนวนฟาวล์ของแต่ละทีม ซึ่งควรมีตัวเลขจาก ถึง 7
                6.4 สัญญาณเสียงที่แยกกัน ชุด และมีเสียงแตกต่างกันจะต้องจัดให้มีคือ ชุดหนึ่งเพื่อให้แก่เจ้าหน้าที่จับเวลา ซึ่งจะต้องส่งสัญญาณเสียงโดยอัตโนมัติเมื่อสิ้นสุดเวลาการแข่งขันในแต่ละครั้ง หรือแต่ละครั้งเพื่อบอกการสิ้นสุดเวลาการแข่งขัน อีกชุดหนึ่งเพื่อให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้จับเวลา 30 วินาที อุปกรณ์ทั้ง ชุดนี้จะต้องมีสัญญาณเสียงดังมากพอที่จะได้ยินอย่างชัดเจนภายใต้สถานการณ์วุ่นวาย หรือเสียงรบกวนอื่นๆ
7. เขต วินาที (เขตกำหนดเวลา) และวงกลมกลางจะต้องเป็นสีที่แตกต่างจากสีของพื้นสนามแข่งขันมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น ควรจะนำไปใช้ในการแข่งขันระดับสำคัญอื่นๆ ด้วย
 
กติกาบาสเกตบอล
                บาสเกตบอลเป็นกีฬาที่เล่นระหว่างผู้เล่น ชุด ชุดละ คน โดยมีจุดมุ่งหมายว่า แต่ละชุดต้องนำลูกบอลไปโยนให้ลงห่วงประตูของคู่แข่งขัน และพยายามป้องกันมิให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ครอบครองลูกบอล หรือทำคะแนน ทั้งนี้ผู้เล่นอาจจะส่ง โยน ปัดกลิ้ง หรือเลี้ยงลูกบอลไปยังทิศทางใดก็ได้ให้ถูกต้องตามกติกา
ทีม
                แต่ละทีมจะประกอบไปด้วยผู้เล่นไม่เกิน 10 คน และโค้ช คน ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งจะเป็นหัวหน้าทีม แต่ละทีมอาจจะมีผู้ช่วยโค้ชอีก คน สำหรับทัวร์นาเมนต์ที่ทีมนั้นจะต้องแข่งขันมากกว่า ครั้ง จำนวนผู้เล่นในแต่ละทีมอาจจะเพิ่มเป็น 12 คนก็ได้ ผู้เล่น คนของแต่ละทีมจะต้องอยู่ในสนามแข่งขันระหว่างเวลาการแข่งขัน และสามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ตามที่ระบุไว้ในกติกา ผู้เล่นของทีมคือผู้เล่นที่อยู่ในสนามแข่งขัน และถูกกำหนดว่าจะลงแข่งขันนอกเหนือจากนี้แล้วจะเป็นผู้เล่นสำรอง ดังนั้นผู้เล่นสำรองจะกลายเป็นผู้เล่นเมื่อผู้ตัดสินได้ให้สัญญาณแจ้งให้เขาเข้าไปในสนามแข่งขัน และผู้เล่นจะกลายเป็นผู้เล่นสำรองทันทีที่ผู้ตัดสินได้ส่งสัญญาณแก่ผู้ที่จะเข้ามาแทนผู้เล่นคนนั้นให้เข้าไปในสนามแข่งขัน ผู้เล่นแต่ละคนจะต้องมีหมายเลขที่ด้านหน้าและด้านหลังของเสื้อที่ตนสวมใส่ โดยมีลักษณะเรียบธรรมดา (ไม่มีลวดลาย) และมีสีทึบติดกับเสื้อ หมายเลขจะต้องเด่นชัด สำหรับหมายเลขที่ติดด้านหลังจะต้องสูงไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร และหมายเลขที่ติดด้านหน้าจะต้องสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร ทำด้วยวัสดุที่กว้างไม่น้อยกว่า เซนติเมตร ทีมหนึ่ง ๆ จะต้องใช้หมายเลขตั้งแต่ ถึง 15 ผู้เล่นในทีมเดียวกันจะต้องไม่ใช้หมายเลขซ้ำกัน  
 
ชุดที่ผู้เล่นสวมใส่จะต้องประกอบไปด้วยสิ่งต่อไปนี้
เสื้อทีม จะเป็นสีเดียว มีลักษณะทึบสม่ำเสมอเหมือนกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ต้องสวมใส่
   โดยผู้เล่นทุกคนในทีมนั้นเสื้อที่มีลายทางแบบริ้วลายจะไม่อนุญาตให้ใช้
กางเกงขาสั้น จะเป็นสีเดียว มีลักษณะทึบสม่ำเสมอเหมือนกันทั้งทีม และจะต้องสวมใส่โดยผู้
   เล่นทุกคนในทีมนั้น
-          เสื้อคอกลม (ทีเชิ้ต) อาจจะสวมใส่ได้ภายในเสื้อทีม แต่ถ้าสวมเสื้อคอกลมจะต้องใช้เสื้อคอ
    กลมมีสีเดียว และให้เหมือนกับสีของเสื้อทีม
ชุดชั้นในของกางเกง ที่ยื่นเลยต่ำกว่ากางเกงขาสั้น อาจจะสวมใส่ได้โดยมีข้อกำหนดว่าจะต้องมีสีเดียว และเหมือนกับกางเกงขาสั้น ในกรณีที่เสื้อทีมมีสีตรงกันให้ทีมเหย้าเปลี่ยนสีเสื้อทีมเมื่อแข่งขันที่สนามกลาง หรือในทัวร์นาเมนต์ทีมที่มีชื่อแรกในโปรแกรมการแข่งขัน และต้องเป็นชื่อแรกในใบบันทึกจะต้องเปลี่ยนสีเสื้อทีม เพราะในทัวร์นาเมนต์หนึ่งๆ แต่ละทีมจะต้องมีเสื้อทีมอย่างน้อย ชุด คือชุดที่เป็นสีจาง และชุดที่เป็นสีเข้ม
สำหรับการแข่งขันที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ ให้ทีมที่มีชื่อแรกในโปรแกรมการแข่งขัน (ทีมเหย้า) สวมเสื้อสีจาง และทีมที่มีชื่อที่สอง (ทีมเยือน) สวมเสื้อสีเข้ม

สำหรับการแข่งขันระดับสำคัญๆ ของฟีบ้า ผู้เล่นในทีมเดียวกันจะต้องปฏิบัติดังนี้
1. สวมรองเท้าซึ่งมีสีเหมือนกัน
2. สวมถุงเท้าซึ่งมีสีเหมือนกัน
ผู้เล่นออกจากเขตสนามแข่งขัน
จะไม่อนุญาตให้ผู้เล่นออกจากเขตสนาม เพื่อให้ได้เปรียบคู่แข่งขันอย่างไม่ยุติธรรม

หัวหน้าทีม หน้าที่ และอำนาจ
                เมื่อมีเหตุจำเป็น หัวหน้าทีมจะต้องเป็นผู้แทนของทีมในสนามแข่งขันสามารถพูดกับผู้ตัดสินเพื่อขอคำอธิบาย หรือเพื่อขอทราบข้อมูลที่จำเป็น แต่ต้องกระทำด้วยความสุภาพ

ประวัติวอลเลย์บอล

ประวัติความเป็นมา กีฬาวอลเลย์บอล

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          กีฬาวอลเลย์บอลเป็นอีกหนึ่งชนิดกีฬายอดนิยม ที่มีการแข่งขันระดับชาติ และนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย จนถูกรวมเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนชั้นมัธยมศึกษาในหลายโรงเรียน ซึ่งหลายคนก็คงอยากรู้จักกับกีฬาวอลเลย์บอลให้มากขึ้นเพื่อความสนุกในการชมและเชียร์กีฬาชนิดนี้ใช่ไหมเอ่ย ? วันนี้กระปุกดอทคอมมีข้อมูลของกีฬาวอลเลย์บอลมาฝากกันจ้า ..

ประวัติวอลเลย์บอล

          กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) นั้น ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1895 (พ.ศ.2438) โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. (Young Men's Christian Association) ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการมีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาวแทนกีฬากลางแจ้ง เพื่อออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก

          โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน เกิดไอเดียในการพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลขึ้น ขณะที่เขากำลังนั่งดูเทนนิส และเลือกนำเอาตาข่ายกลางสนามของกีฬาเทนนิส มาเป็นส่วนประกอบในกีฬาที่เขาคิดค้น และเลือกใช้ยางในของลูกบาสเก็ตบอล มาเป็นลูกบอลที่ใช้ตีโต้ตอบกันไปมา แต่ยางในของลูกบาสเก็ตบอลกลับให้น้ำหนักเบาจนเกินไป จึงเปลี่ยนไปใช้ลูกบาสเก็ตบอลแทน ซึ่งลูกบาสเก็ตบอลก็มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากจนเกินไปอีก เขาจึงสั่งทำลูกบอลขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ ในขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว และกำหนดน้ำหนักไว้ที่ 8-12 ออนซ์ จากนั้นจึงตั้งชื่อกีฬาชนิดนี้ว่า มินโทเนตต์ (Mintonette)

          ต่อมา ชื่อของ มินโทเนตต์ (Mintonette) ถูกเปลี่ยนเป็น วอลเลย์บอล (Volleyball) หลังได้รับคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Professor Alfred T. Helstead) ในงานประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) เมื่อปี ค.ศ.1896 (พ.ศ.2439) และกลายเป็นกีฬายอดนิยมในหมู่ประชาชนชาวอเมริกัน จนแพร่หลายออกไปทั่วโลก รวมทั้งมีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เป็นระยะ

กติกาวอลเลย์บอล

สนามแข่งขัน

          -  จะต้องเป็นพื้นไม้หรือพื้นปูนที่มีลักษณะเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง

          -   เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร ความสูงจากพื้นประมาณ 7 เมตร มีบริเวณโดยรอบห่างจากสนามประมาณ 3 เมตร

          -  แต่หากเป็นสนามมาตรฐานในระดับนานาชาติ กำหนดให้รอบสนามห่างจากสนามประมาณ 5 เมตร ด้านหลังห่าง 8 เมตร และมีความสูง 12.5 เมตร

          -  เส้นรอบสนาม (Boundary lines) ทุกเส้นจะต้องกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนตัดกับพื้นสนาม มองเห็นได้ชัดเจน

          -  เส้นแบ่งเขตแดน (Center line) ที่อยู่ตรงกลางสนาม จะต้องอยู่ใต้ตาข่าย หรือตรงกับเสาตาข่ายพอดี

ตาข่าย

          -  จะต้องมีความสูงจากพื้น 2.43 เมตร กว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 - 10 เมตร

          -  ตารางในตาข่ายกว้าง 10 เซนติเมตร ผู้ติดไว้กับเสากลางสนาม

          -  ตาข่ายสำหรับทีมหญิงสูง 2.24 เมตร

ประวัติความเป็นมา กีฬาวอลเลย์บอล

ลูกวอลเลย์บอล

          -  เป็นทรงกลมมีเส้นรอบวงประมาณ 65-67 เซนติเมตร น้ำหนัก 260-280 กรัม

          -  ทำจากหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้

          -  ซึ่งในการแข่งขันระดับโลกจะใช้ลูกบอล 3 ลูกต่อการแข่งขัน เพื่อความต่อเนื่องหากบอลออกนอกสนาม

ผู้เล่น

          -  ในทีมจะต้องมีผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน เทรนเนอร์ 1 คน และแพทย์ 1 คน

          -  ผู้เล่นจะลงเล่นในสนามได้ครั้งละ 6 คน โดยแบ่งออกเป็นหน้าตาข่าย 3 คน และด้านหลังอีก 3 คน

          -  สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นครั้งละกี่คนก็ได้ โดยผู้เล่นเดิมที่ถูกเปลี่ยนออก สามารถเปลี่ยนกลับมาเล่นในสนามได้อีก

          -  การแต่งกายในชุดแข่งขัน ต้องแต่งกายเหมือนกันทั้งทีม ประกอบไปด้วย เสื้อสวมคอ กางเกงขาสั้น ถุงเท้า และรองเท้าผ้าใบพื้นยางที่ไม่มีส้น โดยผู้เล่นแต่ละคนจะต้องติดหมายเลขกำกับไว้ที่เสื้อ กำหนดให้ใช้เลข 1-18 เท่านั้น สำหรับหัวหน้าทีมจะต้องมีแถบผ้าขนาด 8x2 เซนติเมตร ติดอยู่ใต้หมายเลขบริเวณอกเสื้อด้วย

ประวัติความเป็นมา กีฬาวอลเลย์บอล   

วิธีการเล่น

          -  ทีมที่ได้เสิร์ฟ จะต้องให้ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งขวาหลัง เป็นผู้เสิร์ฟเพื่อเปิดเกม จากนั้นผู้เล่นทุกตำแหน่งจะขยับตำแหน่งวนไปตามเข็มนาฬิกา

          -  การเสิร์ฟจะต้องรอฟังสัญญาณนกหวีดก่อน และให้เริ่มเสิร์ฟลูกบอลภายใน 5 วินาที

          -  ทีมที่ได้คะแนนจะเป็นผู้ได้เสิร์ฟ จนกว่าจะเสียคะแนนให้ฝ่ายตรงข้ามจึงจะเปลี่ยนเสิร์ฟ

          -  เมื่อลูกเข้ามาในเขตแดนของทีม จะสามารถเล่นบอลได้มากที่สุด 3 ครั้งเท่านั้น

          -  สามารถบล็อคลูกบอลจากฝ่ายตรงข้ามที่หน้าตาข่ายได้ แต่หากผู้เล่นล้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามจะถือว่าฟาวล์

          -  สามารถขอเวลานอกได้ 2 ครั้งต่อ 1 เซต ให้เวลาครั้งละ 30 วินาที

          -  ทุกครั้งที่แข่งขันจบ 1 เซต จะต้องมีการเปลี่ยนฝั่ง

การคิดคะแนน

          -  ทีมจะได้คะแนนเมื่อลูกบอลตกลงในเขตสนามของฝ่ายตรงข้าม โดยนับเป็นลูกละ 1 คะแนน และหากมีการเสียคะแนน จะต้องเปลี่ยนให้ทีมที่ได้คะแนนเป็นผู้เสิร์ฟ

          -  หากทีมไหนได้คะแนนครบ 25 คะแนนก่อน ก็จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นไป แต่หากคะแนนเสมอกันที่ 24-24 จะต้องมีการดิวซ์ (Deuce) หมายถึงต้องทำคะแนนให้มากกว่าอีกฝ่าย 2 คะแนน ถึงจะเป็นผู้ชนะ เช่น 26-24 หรือ 27-25 เป็นต้น

          -  ต้องแข่งขันกันให้ชนะ 3 ใน 5 เซต จึงจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น

          และนี่คือข้อมูลคร่าว ๆ ของกีฬาวอลเลย์บอล เมื่อรู้จักกีฬาชนิดนี้กันแล้ว ก็อย่าลืมทำความเข้าใจกติกามารยาทในการแข่งขัน และเล่นกีฬากันอย่างมีน้ำใจนักกีฬากันด้วยนะจ๊ะ 

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ประวัติของ หมาก - ปริญ สุภารัตน์

หมาก ปริญ สุภารัตน์

การศึกษา : คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยรังสิต
ที่อยู่ : เชียงใหม่
หมาก ปริญ : หมาก ปริญ : ปริญ สุภารัตน์ (ชื่อเล่น: หมาก) เป็นทั้งนักแสดงและนายแบบชาวไทย สังกัดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เคยเป็นนักกีฬายูโด ผู้เข้าแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติมาก่อน เมื่อก้าวเข้าสู่วงการบันเทิง จึงเริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะนักแสดงชายหน้าใหม่ ด้วยบทบาทพระเอกละครโทรทัศน์เรื่องแรกในชีวิต คือ เงารักลวงใจ โดยแสดงคู่กับณัฐวรา วงศ์วาสนา 
ปริญ สุภารัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2533 สูง 180 เซนติเมตร น้ำหนัก 64 กิโลกรัม เป็นชาวจังหวัดเชียงใหม่ มีพี่น้องทั้งหมด 2 คน เป็นลูกคนที่ 2 ของครอบครัว มีพี่สาว 1 คน ชื่อ เมี่ยง (ปราง สุภารัตน์) ปัจจุบันครอบครัวอาศัยอยู่ที่จังหวัดลำปาง ชื่อจริง ปริญ ย่อมาจากคำว่าปริญญา ส่วนนามสกุล สุภารัตน์ หมายถึง แก้วที่ประเสริฐ
หมาก-ปริญ จบการศึกษาในระดับชั้นอนุบาลที่อักษรธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ประถมศึกษาโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ พอถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต้องย้ายไปที่จังหวัดลำปาง เพราะคุณพ่อกับคุณแม่ต้องไปทำงานที่นั่น จึงต่อชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง จังหวัดลำปาง ได้สร้างผลงานการแข่งขันกีฬายูโดในการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 24 ดอกบัวเกมส์ ที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นรายการสุดท้ายก่อนจะเข้ารับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ มหาวิทยาลัยรังสิตด้วยทุนนักกีฬา เพราะหมากเป็นนักยูโด รุ่นมิดเดิลเวทของมหาวิทยาลัย
เคยศึกษาวิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต ปัจจุบันกำลังศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยรังสิต รหัสนักศึกษา 5101331 เข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการถ่ายแบบ ถ่ายมิวสิกวิดีโอ ถ่ายโฆษณา จนมีผลงานแสดงละครเรื่องแรก เงารักลวงใจ และเป็นที่รู้จักมากขึ้นจากละครเรื่อง ปฐพีเล่ห์รัก ในบทบาทของ ปฐพี อดิศวร หรือ ดิน แสดงคู่กับ ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทอง

ผลงานละคร : หมาก ปริญ

เงารักลวงใจ
ธาราหิมาลัย
ดวงใจอัคนี
ปฐพีเล่ห์รัก
วายุภัคมนตรา
ตะวันเดือด
สามหนุ่มเนื้อทอง
ปัญญาชนก้นครัว
เหนือเมฆ 2 มือปราบจอมขมังเวทย์
คุณชายรณพีร์
ต้นรักริมรั้ว

ผลงานเพลง : หมาก ปริญ

รักให้รู้    ประกอบละคร สามหนุ่มเนื้อทอง
อุ่นใจ    โครงการ 4+1 Channel 3 Superstar
อย่ามองมาได้ไหม    ประกอบละคร ปัญญาชนก้นครัว
คิมเบอร์ลี แอน เทียมศิริ
เกิดมาแค่รักกัน    ประกอบละคร เหนือเมฆ 2

ผลงาน MV เพลง : หมาก ปริญ

ใหม่ๆก็รัก
แบบไหนที่เธอจะรัก
Only you
หายใจเข้าก็ยังรอหายใจออกก็ยังจำ
จะรักจนกว่าจะรู้

รางวัลที่ได้รับ

ปี 2553
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง 1 ใน 5 รางวัลนักแสดงดาวรุ่งชายยอดเยี่ยมจากละครเรื่อง เงารักลวงใจ จากงาน สยามดาราสตาร์อวอร์ด 2010
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง ดาวรุ่งชายยอดนิยม จาก TV 3 Fanclub Award 2010
ปี 2554
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง นักแสดงชายยอดนิยม จาก TV 3 Fanclub Award 2011
ปี 2555
ได้รับรางวัลหนุ่มหล่อกระชากใจ จาก สยามบันเทิง
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง นักแสดงชายยอดนิยม จาก TV 3 Fanclub Award 2012
ได้รับรางวัล คู่จิ้นแห่งปี กับ คิมเบอร์ลี แอน เทียมศิริ จาก สีสันบันเทิงอวอร์ด 2012
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง สาขาหนุ่มเจ้าสำราญ จาก STAR'S LIGHT AWARDS 2012
ปี2556
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง สาขานักแสดงนำชายยอดนิยม จาก คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 10
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง ขวัญใจมหาชน จาก ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2555
ได้รับรางวัล 100 spicy most idol จาก spicy